สำนักราชบัณฑิตยสภา
สั ททอั กษรไทยปาฬิ* 260 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 37 No. 2 April-June 2012 [ สังํโฆ สุเขตตา-ภ ๎ ยะติเขตตะสัญญิโต ] และ สัททอักษรสากลปาฬิว่า [ s̪aŋํɡʰoː s̪ukʰeːt̪t̪aː-bʱj ‿ a t̪ikʰeːt̪t̪as̪aɲɲit̪oː ] นอกจากนี้ยังเสนอการเขียนเสียงปาฬิ < ด > ( เดอะ ) แทน < ท > ( เทอะ ) และ < บ > ( เบอะ ) แทน < พ > ( เพอะ ) เพื่อให้ผู้ที่คุ้นเคยกับภาษาไทยในปัจจุบันอ่านออกเสียงตรงตาม เสียงปาฬิ ได้ใกล้เคียงยิ่งขึ้นด้วย เช่น [ ดิฎฐะสันโต ] ไม่ใช่ออกเสียงเป็นไทยว่า ทิฏฐะ ... หรือ ปาฬิภาสาว่า [ โบธะโก ] ไม่ใช่ออกเสียงเป็นไทยว่า โพธะ... ๔. ประโยชน์ในทางสภาวนิรุตติ (ความเป็นภาษาเฉพาะ) และการแปลพระไตรปิฎกปาฬิ ( Pāḷi Tipiṭaka Translation) การเขียนเสียงอ่านตามแนว สัททอักษรสยามปาฬิ ที่พัฒนาเป็น สัททอักษรไทยปาฬิ ทำ �ให้สามารถ เขียนเสียงอ่าน ที่ยังคงรูปศัพท์ปาฬิอยู่ ซึ่งเป็นการช่วยให้ผู้อ่านสามารถมองเห็นรูปศัพท์ปาฬิเดิมและเข้าใจ ความหมายด้วย เช่น สํโฆ saṁgho เขียนเสียงอ่านว่า [ สังํโฆ ] / [ s̪ aŋํɡʱoː ] ซึ่งในภาษาไทยหมายถึง สงฆ์ แทนที่จะเขียนเสียงอ่านว่า [ สัง-โค ] ตามอักขรวิธีในภาษาไทยที่ใช้กันอยู่ ส่วนการแปลพระไตรปิฎก ปาฬิก็สามารถรักษารูปศัพท์คำ �แปลที่ยังไม่ได้แจกวิภัตติ เช่น สํฆ (saṁgha) จะเขียนคำ �วิชชมานบัญญัติ ที่มีสภาวนิรุตติ (ความเป็นภาษาเฉพาะ) ของอริยสงฆ์ ด้วยวิธีเขียนทับศัพท์ปาฬิ ที่สอดคล้องกับการเขียน เสียงอ่าน ปาฬิภาสา-อักษรไทย ว่า สังฆะ ( ไม่ใช่ สังคะ ) และ ปาฬิภาสา-อักษรโรมัน ว่า saṁgha ( ไม่ใช่ saṅgha) เป็นต้น ๕. ประโยชน์ในทางภาษาศาสตร์ (Linguistics) เช่น การทำ �พจนานุกรม (Lexicography) ระบบการเขียนเสียงอ่านปาฬิภาสาในรูปสัททอักษรนี้สามารถพัฒนาเป็นระบบการเขียนเสียง อ่านด้วย อักขรวิธีในภาษาไทยโดยไม่คำ �นึงถึงเรื่องวรรณยุกต์ตามแนวสัททอักษรสยามปาฬิ สำ �หรับอ่าน พระไตรปิฎกอักษร ต่าง ๆ เช่น ปาฬิภาสา-อักษรพม่า ปาฬิภาสา-อักษรโรมัน และจะใช้เป็นระบบการเขียน เสียงอ่านในพจนานุกรมที่เกี่ยวกับปาฬิภาสาในรูปแบบต่าง ๆ ได้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่ปัจจุบัน กำ �ลังเกิดขึ้นมากมาย เนื่องจากชุดสัททอักษรไทยปาฬิมีความเป็นสากลทางวิชาการ และสามารถใช้แทน ชุดสัททอักษรสากลปาฬิได้ด้วย
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=