สำนักราชบัณฑิตยสภา
259 วิ จิ นตน์ ภาณุพงศ์ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๕ สรุป : สัททอักษรไทยปาฬิ มีประโยชน์ต่างๆ ดังนี้ สัททอักษรไทยปาฬิ (Thai PhoneticAlphabet Pāḷi ) คือ ระบบการเขียนเสียงอ่านปาฬิภาสา ด้วย อักขรวิธีในภาษาไทย ตามแนวอักขรวิธีอักษรสยามปาฬิ ในพระไตรปิฎกปาฬิ พ.ศ. ๒๔๓๖ โดยไม่ ค� ำนึงถึงเสียงสูงต�่ ำที่ ก� ำหนดไว้ในอักษรไทย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ แก่ประชาชนทั่วไป มีประโยชน์สรุปได้ ดังต่อไปนี้ ๑. ประโยชน์ในการนำ �เสนอ ระบบการเขียนเสียงอ่านปาฬิภาสา ( Pāḷi Phonetic Writing System) การศึกษาเรื่อง สัททอักษรสยามปาฬิ เป็นการเปิดมิติใหม่ของอักขรวิธีทั้งการเขียนและอ่านปาฬิภาสา ในเชิงสัทศาสตร์ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้ าเจ้ าอยู่หัวได้ โปรดให้ “ปริวรรตอักษร” (transliteration) โดยใช้อักษรสยาม แทน อักษรขอม เขียนเสียงอ่านปาฬิภาสา ในพระไตรปิฎกปาฬิ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๓๖ ซึ่งแสดงถึงเอกลักษณ์อักษรของชาติไทยในระดับสากล เช่น < ท์ > เทียบกับ < d > และ < พ์ > กับ < b > ดู ข้อ ๒๖ และ ๓๑ ในด้านซ้ายมือ ตารางปริวรรตอักษร ซึ่งแสดงเอกลักษณ์ ชุดอักษร สยามปาฬิ ที่มีสัญลักษณ์โดดเด่นในทางการออกแบบสัททอักษร และความสามารถอันเป็นเลิศในการใช้ เขียน เสียงอ่านปาฬิภาสาในพระไตรปิฎกปาฬิ ที่ตีพิมพ์ได้เป็นชุดถึง ๓๙ เล่ม ครั้งแรกของโลก ซึ่งปัจจุบัน ได้รับการขนานนามว่า “พระไตรปิฎกปาฬิ จุลจอมเกล้าบรมธัมมิกมหาราช พ.ศ. ๒๔๓๖ อักษรสยาม” ๒. ประโยชน์ในการเลือกชุดสัททอักษรต่างๆ (Phonetic Alphabet in Various Scripts) ในตารางการ “ถอดเสียงปาฬิภาสา” (transcription of Pāḷi sound) หน้าซ้ายมือ สัททอักษรปาฬิ [ ก ] / [ k ] , [ ข ] / [ k h ] ... ในแถวล่างของแต่ละช่องมีความเป็นสัททอักษรโดดเด่นยิ่งขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับ อักษรโรมันและสัททอักษรสากล จะเห็นได้ว่าในชุดสัททอักษรสากลปาฬิมิได้มีตัวอักษรแทนเสียงปาฬิ ครบทุกเสียง จึงจำ �เป็นต้องเพิ่มเครื่องหมายพิเศษ ทั้งบนและใต้อักษรโรมัน และพิมพ์ในวงเล็บเหลี่ยม [ ] เพื่อให้ตรงกับเสียงปาฬิภาสาในพระไตรปิฎกปาฬิ แต่อักษรสยามที่ใช้เขียนปาฬิภาสาตั้งแต่อดีตจนถึงสมัย รัชกาลที่ ๕ มีอักษรครบทุกเสียงปาฬิ ชุดสัททอักษรไทยปาฬิที่นำ �เสนอใหม่มีข้อแตกต่างเล็กน้อยจากชุด สัททอักษรสยามปาฬิ ( ดูรายละเอียดหน้า ๑๒ และ ๑๓) ๓. ประโยชน์ในทางสัทศาสตร์ (Phonetics) ชุดสัททอักษรไทยปาฬิเป็นการปรับปรุงวิธีเขียนเสียงอ่านปาฬิภาสาให้ถูกต้องยิ่งขึ้นในทาง วิชาการด้วยระบบสัททอักษร เช่น อักษรสยามปาฬิ ว่า สํโฆ สุเขต์ตาภ ๎ ยะติเขต์ตสั์ิโต เขียนเสียง ควบกล�้ ำ ภย ว่า ภ ๎ ยะ ด้วยเครื่องหมายยามักการบนพยัญชนะควบกล�้ ำ ซึ่งสัททอักษรไทยปาฬิ ว่า
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=