สำนักราชบัณฑิตยสภา

255 วิ จิ นตน์ ภาณุพงศ์ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๕ ๕. สัททอักษรไทย ปาฬิ ได้พัฒนาต่างจาก สัททอักษรสยาม ปาฬิ โดยใช้หลักสัทศาสตร์ในปัจจุบัน เพื่อแสดงหลักการ ๑ สัญลักษณ์ แทน ๑ หน้าที่ ดังนั้น สัททอักษรไทย ปาฬิจึงประวิสรรชนีย์ คือใส่ สระ-อะ หลังพยัญชนะปาฬิทุกตัว และบนพยัญชนะตัวสะกดไม่แสดงเครื่องหมายวัญชการ ( ์ ) เช่น ธัม์มํ​ เขียนเสียงอ่านใน สัททอักษรสยาม ปาฬิ ว่า [ ธัม์มังํ ] แต่ สัททอักษรไทย ปาฬิจะเขียนว่า [ ธัมมังํ ] ทั้งนี้ เพราะพยัญชนะที่ตามด้วยเสียง สระ-อะ จะมีเครื่องหมายไม้หันอากาศ -ั แทน - ะ เมื่อมีตัวสะกดก� ำกับ ชัดเจนแล้ว เช่น ในค� ำอักษรสยามปาฬิ อหมาทเรน ซึ่งในเสียงอ่าน สัททอักษรไทย ปาฬิ เขียนว่า [ อะหะมาดะ เรนะ ] (ดูรายละเอียดข้อ ๔. อักษร ท เปลี่ยนเป็นสัญลักษณ์ [ ด ]) กรณี ย เป็นพยัญชนะตัวสะกดในพยางค์ ที่มีสระ เ- เป็น เ- ย ถ้าอ่านเป็นภาษาไทยจะกลายเป็นเสียงสระ เออ คือเป็น เยอย เช่นเดียวกับ เทอม เพื่อ ให้ออกเสียงได้ใกล้เคียงจึงใส่ไม้วัญชการบน ย ที่เป็นตัวสะกด เช่น เยย เขียนเป็น [ เยย์ ] ๖. ใน สัททอักษรไทย ปาฬิ แสดงเสียงควบกล�้ ำด้วยเครื่องหมายไม้ยามักการ ซึ่งได้ใช้ในการเขียน เสียงอ่าน ปาฬิภาสาในพระไตรปิฎกอักษรสยาม พ.ศ. ๒๔๓๖ แล้วตั้งแต่แรก เช่น พยัญชนะเสียงควบกล�้ ำ ภย เขียนเครื่องหมาย ยามักการไว้บนพยัญชนะควบกล�้ ำ เป็น ภ ๎ ​ ยะ และเพิ่มเครื่องหมายยัติภังค์ ( - ) เพื่อ แสดงว่าเป็นเสียงควบกล�้ ำเพียงอย่างเดียว ไม่เป็นเสียงสะกดควบกล�้ ำ เช่น สุเขตฺตาภฺยติเขตฺตสญฺิโต เขียนเสียงอ่านว่า [ สุเขตตา-ภ ๎ ​ ยะติเขตตะสัญญิโต ]

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=