สำนักราชบัณฑิตยสภา
วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๕ ผู้รจนา/นักประพันธ์/กวี ผู้สร้างวรรณกรรมทักษิณ * บทคัดย่อ ผู้รจนา/นักประพันธ์/กวี หรือผู้แต่งวรรณกรรมทักษิณสร้างสรรค์วรรณกรรมต่อเนื่อง มาเป็นเวลายาวนานตั้งแต่สมัยก่อนการพิมพ์จนกระทั่งถึงสมัยเริ่มต้นการพิมพ์ สมัยก่อนการพิมพ์ ผลงานวรรณกรรมบันทึกลงในหนังสือบุด หรือสมุดข่อย และใบลาน มีวรรณกรรมจ� ำนวนมากไม่มี รายละเอียดเกี่ยวกับผู้แต่ง บางเล่มระบุชื่อผู้เขียน ซึ่งอาจหมายถึงผู้แต่งหรือผู้คัดลอก บางเล่มกล่าว ถึงผู้สร้างซึ่งมีนัยให้คิดว่าอาจจะเป็นผู้แต่งหรือผู้คัดลอก บางเล่มกล่าวถึงผู้สร้างซึ่งอาจจะเป็นผู้แต่ง หรือผู้ออกทุนทรัพย์ให้แต่งหรือคัดลอก บางเล่มบอกชื่อผู้แต่งแต่ไม่มีรายละเอียดว่าเป็นใครและมี ชีวิตอยู่ในสมัยใด ผู้แต่งวรรณกรรมทักษิณมักเป็นพระภิกษุสงฆ์หรือชาวบ้านที่คงแก่เรียน รอบรู้ทั้ง คดีโลกคดีธรรม ผลงานที่สร้างมุ่งเป็นวิทยาทาน และเพื่อให้ผู้แต่งได้รับอานิสงส์ คือ ความสุขและ นิพพาน มีผู้แต่งอยู่บ้างที่เกี่ยวข้องกับราชส� ำนัก จึงได้รับอิทธิพลจากวรรณกรรมของภาคกลาง ทั้ง ด้านเนื้อหาสาระและค� ำประพันธ์ที่ใช้แต่ง ส่วนผู้แต่งในสมัยเริ่มต้นการพิมพ์ นอกจากแต่งด้วยจุด มุ่งหมายเพื่อการกุศลหรือประโยชน์ส่วนรวมของสังคมแล้วยังแต่งเพื่อหารายได้อีกด้วย เนื้อหาสาระ และค� ำประพันธ์ที่ใช้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม โดยเนื้อหาหลากหลายขึ้น ส่วนค� ำประพันธ์มักแต่งด้วย ค� ำประพันธ์ประเภทกลอน ผู้แต่งส่วนใหญ่ยังคงเป็นพระภิกษุและชาวบ้านที่มีความรู้ นอกจากนี้ยัง มีนักแสดงมหรสพพื้นบ้านและนักเล่นเพลงบอกเป็นผู้สร้างสรรค์วรรณกรรมด้วย ค� ำส� ำคัญ : วรรณกรรมทักษิณ * ปรับปรุงจากการบรรยายทางวิชาการในที่ประชุมส� ำนักศิลปกรรมเมื่อวันที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ ความน� ำ การศึกษางานด้านวรรณกรรมนอกเหนือจากจะต้องเรียนรู้หลักเกณฑ์ทั่วไปเกี่ยวกับวรรณกรรม แล้ว ผู้ศึกษาจ� ำเป็นจะต้องทราบประวัติของผู้รจนา หรือผู้ประพันธ์ หรือกวีควบคู่ไปด้วย หากการศึกษา วรรณกรรมขาดการศึกษาผู้แต่ง หรือไม่รู้จักผู้แต่งก็เปรียบเสมือนฟังดนตรีจากแผ่นเสียง หรือการรับ ชวน เพชรแก้ว ภาคีสมาชิก ส� ำนักศิลปกรรม ราชบัณฑิตยสถาน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=