สำนักราชบัณฑิตยสภา
251 วิ จิ นตน์ ภาณุพงศ์ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๕ สัททอักษรสยาม ปาฬิ มีหลักการเขียนเสียงอ่าน ดังต่อไปนี้ ๑. สัททอักษรสยาม ปาฬิ ( SiamPhonetic Alphabet Pāḷi ) เป็นการเรียกชุด “สัททอักษร” ที่ใช้พิมพ์ปาฬิภาสา ด้วยอักษรสยาม ในปี พ.ศ. ๒๔๓๖ ตามหลักการทางสัทศาสตร์ และจากการศึกษา การน� ำเสนอในค� ำน� ำการพิมพ์ พระไตรปิฎกปาฬิ จุลจอมเกล้าบรมธัมมิกมหาราช พ.ศ. ๒๔๓๖ ซึ่งในยุคนั้น ได้มีการปริวรรตเทียบ อักษรสยาม ปาฬิ (Siam-script Pāḷi) กับ อักษรโรมัน ปาฬิ (Roman-script Pāḷi) ด้วยแล้ว ท� ำให้ปัจจุบันสามารถศึกษาพัฒนาต่อ เป็น สัททอักษรไทย ปาฬิ ได้เป็นอย่างดี ๒. สัททอักษรสยาม ปาฬิ มีจุดประสงค์เพื่อให้สามารถเขียนเสียงอ่านปาฬิภาสาด้วยสัญลักษณ์ ทางวิชาการสัทศาสตร์ที่เป็นสัญลักษณ์สากล ซึ่งนักวิชาการชาวตะวันตกและผู้ที่สนใจในระดับนานาชาติ สามารถอ่านได้ โดยเฉพาะการพิมพ์เสียงอ่านเสียงควบกล�้ ำ ซึ่งฉบับ จปร. อักษรสยาม เป็นพระไตรปิฎก ปาฬิ ฉบับแรกของโลกที่น� ำเสนอระบบการพิมพ์เสียงอ่านเสียงควบกล�้ ำ และยังได้เทียบอักษรสยามปาฬิ กับอักษรโรมันปาฬิไว้แล้วในระดับหนึ่ง ดังนั้นการพัฒนาอักษรโรมันปาฬิ ไปเป็น สัททอักษรสากล ปาฬิ จึง สามารถอ้างอิงถึงอักษรสยาม และสัททอักษรสยามปาฬิ ได้ด้วย ๓. การเขียนเสียงอ่านด้วย สัททอักษรสยาม ปาฬิ ใช้สัญลักษณ์อักษรสยามในสมัยรัชกาลที่ ๕ ร่วมกับสัญลักษณ์ต่าง ๆ คือ ไม้หันอากาศ ( ั ), วัญชการ ( ์ ), ยามักการ ( ๎ ) ส่วน นิคหิต ( ํ ) จะใช้แทน ด้วยเครื่องหมายไม้หันอากาศตามด้วย ง สะกด โดยมีเครื่องหมายพินทุโปร่งก� ำกับ [งํ] เช่น ตํ เขียนว่า [ ตังํ ] เพื่อแสดงให้เห็นรูปศัพท์เดิมที่มาจากเสียงนิคหิต (ต่างจาก สังกัปป [สังกัปปะ]) เป็นต้น นอกจากนี้ ได้เปลี่ยนอักษรสยามที่มีเชิง ญ ฐ เป็นสัญลักษณ์สัททอักษรที่ไม่มีเชิง ได้แก่ การใช้สัญลักษณ์และ การประดิษฐ์ชุดอักษรที่มีสัญลักษณ์ใหม่นี้เป็นหลักฐานส� ำคัญที่แสดงว่าเสียงอ่าน ปาฬิภาสาที่เขียนด้วย อักษรสยามในสมัยรัชกาลทีี่ ๕ เป็นการน� ำเสนอด้วยแนวคิดเชิงสัทศาสตร์โดยใช้ “สัททอักษร” พิมพ์ ปาฬิภาสาในพระไตรปิฎก อักษรสยาม ด้วยเหตุนี้ จีงเรียกชุดอักษรนี้ว่า สัททอักษรสยาม ปาฬิ ๔. สัททอักษรสยาม ปาฬิ มีข้อสังเกตที่ส� ำคัญที่ต่างจากอักษรสยามที่ใช้ในภาษาไทยในสมัย รัชกาลทีี่ ๕ คือ สัททอักษรสยาม ปาฬิ ที่แทนเสียง [ b ] ใช้สัญลักษณ์ พ์ และที่แทนเสียง [ d̪ ] ใช้สัญลักษณ์ ท์ ก็เนื่องจากในสังคมไทยในสมัยรัชกาลทีี่ ๕ คุ้นกับเสียง พ ในค� ำว่า พุทธะ (buddha) และ ท ใน ทุกข์ (dukkha) ใน ภาษาไทย จึงอาจน� ำ เสียงภาษาไทย มาปนกันกับ เสียงปาฬิภาสา ดังนั้นจึงเขียนเสียง อ่านสัททอักษรสยามปาฬิในวงเล็บ และเพิ่มการประวิสรรชนีย์ ดูข้อ ๕. เช่น โย ทิฏ์สัน์โต สุคตานุโพธโก เขียนเสียงอ่านว่า [ โย ดิฎฐะสันโต สุคะตานุโพธะโก ] ๕. สัททอักษรสยาม ปาฬิ เป็นแนวทางที่สามารถพัฒนาต่อไปเป็น สัททอักษรไทย ปาฬิได้ โดยใช้ หลักสัทศาสตร์ ในปัจจุบันเพื่อแสดงหลักการ ๑ สัญลักษณ์ แทน ๑ หน้าที่ เนื่องจากในพระไตรปิฎกปาฬิ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=