สำนักราชบัณฑิตยสภา

The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 37 No. 2 April-June 2012 สัททอักษรไทยปาฬิ * บทคัดย่อ ใน​สมัย​พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาล​ที่ ๕ ได้​มี​การ​เปลี่ยนแปลง​ ​พระ​ไตร​ปิฎก​อักษร​ขอม​เป็น​อักษร​สยาม​เป็น​ครั้ง​แรก และ​ยัง​ได้​น� ำ​อักษร​โรมัน​ที่​ใช้​เขียน​ปาฬิ​ภาสา​ มา​เทียบ​กับ​อักษร​สยาม​ที่​เป็นต้น​แบบ​ไว้​ด้วย บทความ​นี้​ได้​วิเคราะห์​อักขรวิธี​ใน​การ​พิมพ์​ปาฬิ​ภาสา- อักษร​สยาม ใน​พระ​ไตรปิฎก จปร. ๒๔๓๖ และ​สรุป​ว่า​เป็นการ​น� ำ​เสนอ​ใน​ลักษณะ​สัททอักษร ซึ่ง​อาจ​ เรียก​ว่า “สัททอักษรส​ยาม-ปาฬิ” นอกจาก​นี้ เมื่อ​ท� ำตา​ราง​เสียง​พยัญชนะ​ปาฬิ​แสดง​ต� ำแหน่ง​ฐาน​ ที่​เกิด​เสียง​พร้อม​ทั้ง​ลักษณะ​การ​ออก​เสียง โดย​อาศัย​หลัก​สัท​ทนี​ติ​ของ​ตะวัน​ออก​เทียบ​กับ​หลัก​วิ​ชา​ สัท​ศาสตร์​ของ​ตะวัน​ตก ท� ำให้​สามารถ​เลือก​ชุด​สัททอักษรสา​กล-ปาฬิ ที่​เขียน​เสียง​อ่าน​พระ​ไตร​ปิฎก​ ปาฬิ​ภาสา​อักษร​โรมัน​มา​เทียบ​กับ​ปาฬิ​ภาสา-อักษร​สยาม​ได้​ด้วย จาก​หลัก​การ​ดัง​กล่าว บทความ​นี้​ จึง​ได้​พัฒนา​แนว​ความ​คิด​ของ​สัททอักษรส​ยาม-ปาฬิ มา​เป็น​สัททอักษร​ไทย​ปาฬิ เพื่อ​ใช้​ส� ำหรับ​เขียน​ เสียง​อ่าน​ปาฬิ​ภาสา​ที่​เขียน​ด้วย​อักษร​ไทย​ใน​ปัจจุบัน ทั้งนี้​เพื่อ​ประโยชน์​ใน​การ​เขียน​เสียง​อ่าน​ใน​บท​ สวด​มนต์​จาก​พระ​ไตร​ปิฎก​ปาฬิ​ให้​ถูก​ต้อง​หรือ​ใกล้​เคียง​ที่สุด​ตาม​วิธี​ออก​เสียง​ปาฬิ​ภาสา​ที่​ได้​สืบทอด​ กัน​มากว่า​สอง​พันปี ค� ำส� ำคัญ : ปาฬิ​ภาสา, สัท​ทนี​ติ, สัท​ศาสตร์, สัททอักษร, สัททอักษรส​ยาม​ปาฬิ, สัททอักษรสา​กล​ปาฬิ,​ สัททอักษร​ไทย​ปาฬิ * สัททอักษร (ออกเสียงว่า สัดทะอักสอน) เขียน สัทท- ทับศัพท์ปาฬิ เพื่อรักษารูปศัพท์ให้ตรงตามรูป (sadda) ในปาฬิภาสา เพื่อน� ำมาใช้ เป็นชื่อเฉพาะ ซึ่งหมายถึง “เสียง” ดังที่ปรากฏในค� ำ “สัททนีติ” (saddanĩti) ในคัมภีร์สัททนีติ และเพื่อให้ต่างกับค� ำว่า สัท- ใน สัทธรรม (ออกเสียงว่า สัดท� ำ) ซึ่งหมายถึงค� ำสอนของพระพุทธเจ้า, ส่วนราชบัณฑิตยสถาน เขียนว่า สัทอักษร วิจินตน์ ภาณุพงศ์ ภาคีสมาชิก ส� ำนักศิลปกรรม ราชบัณฑิตยสถาน ปาฬิภาสา ๑ (Pāḷibhāsā) หรือ ที่ไทยเรียกกันว่าภาษาบาลี หมายถึง ภาษาพระธัมม์ ซึ่งเป็นภาษาที่บันทึกค� ำสอนของพระพุทธเจ้าในพระไตรปิฎกปาฬิ แม้ปาฬิมีก� ำเนิดจากภาษาถิ่นใน อินเดียโบราณ แต่ความเป็นภาษาพระธัมม์เกิดจากนิยามที่ก� ำหนดขึ้นใหม่เกี่ยวกับสภาวะความเป็นจริง ๑ ผู้เขียนขอขอบพระคุณอาจารย์สิริ เพ็ชรไชย ป.ธ. ๙ (ที่ปรึกษาคณะกรรมการจัดทำ �พจนานุกรมศัพท์พระไตรปิฎกราชบัณฑิตยสถาน ๒๕๓๖-๒๕๕๕) และคณะที่ให้คำ �แนะนำ �เรื่องปาฬิภาสา; กองทุนสนทนาธัมม์นำ �สุขฯ ในพระสังฆราชูปถัมภ์ฯ ที่เอื้อเฟื้อข้อมูลพระไตรปิฎก สากล; และพันเอก สุรธัช บุนนาค (ส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า) และคณะ ที่ได้จัดทำ �ตารางสัททอักษร ข้อมูลเทคโนโลยี พระไตรปิฎกปาฬิ และภาคผนวกประกอบบทความ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=