สำนักราชบัณฑิตยสภา

ลี ลาท่าภาษาโขนลิ ง 232 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 37 No. 2 April-June 2012 ท่าขู่ โขนตัวลิงปฏิบัติท่าขู่ ซึ่งเป็นอาการเฉพาะของลิงที่มักจะแสดงให้อีกฝ่ายหนึ่งเกรงกลัว โขน ตัวลิงจะแสดงท่าขู่ในการต่อสู้กับพวกยักษ์ ท่าขู่จะก้มเงยด้วยความรวดเร็ว ท่าจับหมัด ท่าดมหมัด ท่าเล่นหมัด ทั้งสามท่าเป็นท่าที่อยู่ในชุดเดียวกัน ซึ่งการแสดงกิริยาอาการของลิง หาหมัด เป็นเรื่องการรักษาความสะอาด และถ้อยทีถ้อยอาศัยซึ่งกันและกัน คือ จะช่วย เหลือกันหาหมัดของกันและกัน ท่าเกี่ยวกับหมัดนี้จะปรากฏในการแสดงชุดนางลอย เพลง เต่าเห่ และบางครั้งเมื่ออยู่ในกองทัพก็สามารถท� ำท่านี้ได้บ้าง ท่าคว้า กิริยาแสดงอาการความตกใจของลิง มักจะท� ำท่าคว้าแล้วหมุนตัวกลับมาตั้งหลักดูว่าเกิด อะไรขึ้น ได้พบเห็นอะไรอย่างกะทันหัน เช่น การหลบเลี่ยงในการต่อสู้ และท่าจับนาง พบ บางสิ่งอย่างกะทันหัน ท่าคลาน ท่าเดินตีนเตี้ย เป็นการแสดงกิริยาอาการไปมาของลิง ซึ่งจะคลานหรือเดินเข้าหาตัวพระ อย่างนอบน้อม ซึ่งเป็นการเคลื่อนที่ในระยะใกล้ ๆ ท่าจับแมลงวัน เป็นการแสดงกิริยาอาการของลิงที่ไล่จับแมลงวัน เป็นอาการที่ไม่หยุดนิ่ง ท่าหัวเราะ เป็นการแสดงความดีใจ กระบวนท่าของโขนตัวลิงที่เลียนแบบลิงตามธรรมชาติดังกล่าว เมื่อวิเคราะห์แล้วจะเห็นได้ว่า ปรากฏมีอยู่ในการแสดงโขนตัวลิงอยู่เป็นระยะ ๆ สอดแทรกอยู่เพื่อแสดงให้เห็นลักษณะของลิง และ แสดงออกซึ่งความแตกต่างระหว่างตัวโขนแต่ละประเภท ลักษณะท่าทางของโขนตัวลิงที่เลียนแบบลิงตาม ธรรมชาตินี้นับเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของโขนตัวลิงที่มีต่อการแสดงโขน ปัญหาที่ท� ำให้การออกลีลาท่าภาษาโขนลิงในปัจจุบันด้อยลง ๑. หลักสูตร มีการปรับหลักสูตร ผู้เรียนต้องเรียนตามระบบการศึกษาใหม่ (หน่วยกิต) ให้ได้ มากตามที่หลักสูตรก� ำหนด การเรียนเพื่อทบทวนหรือเน้นความส� ำคัญจึงไม่มี เพราะผู้สอนจ� ำเป็นต้องเร่ง ถ่ายทอดความรู้ใหม่ให้ผู้เรียน การปฏิบัติซ�้ ำ ๆ เพื่อให้เกิดความช� ำนาญจึงไม่ได้ ๒. วิธีการสอน เนื่องด้วยกระบวนท่าของโขนตัวลิงมีความยากล� ำบากอยู่มาก ครูต้องดัดโครงสร้าง ร่างกายของศิษย์ เช่น การถีบเหลี่ยม การฉีกขา ฯลฯ ซึ่งบางครั้งศิษย์อาจได้รับความทรมานบ้าง ครูสามารถ เข้มงวดในการเรียนการสอน และท� ำโทษศิษย์ได้ หากปฏิบัติไม่ถูกต้อง แต่ในปัจจุบันผู้ปกครองมักจะไม่ เข้าใจ กลับมาต่อว่าครูผู้สอนอยู่เป็นประจ� ำ ท� ำให้ความเข้มงวดในการสอนลดน้อยลง ๓. ครูผู้สอน การสอนวิชาปฏิบัติครูผู้สอนจ� ำเป็นต้องเข้มงวดอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ต้องมีความ เสียสละ อดทน อดกลั้น ถ่ายทอดความรู้ให้กับศิษย์ด้วยความรัก ซึ่งครูแต่โบราณให้ความรักกับศิษย์ดุจ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=