สำนักราชบัณฑิตยสภา
231 ไพโรจน์ ทองค� ำสุก วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๕ การแสดงท่าทางเฉพาะของโขนตัวลิงที่เลียนแบบมาจากลิงตามธรรมชาติที่ปรากฏ ในการ แสดงมักสอดแทรกอยู่ในท่าเต้นโขนตัวลิง โดยเฉพาะท่ามือลิง มือเข้าอก และท่าเกา ซึ่งเห็นได้อย่างชัดเจน และมีความหมายเฉพาะ สามารถใช้ได้ในโอกาสต่าง ๆ ดังนี้ มือวงลิง แสดงท่าตั้งวงโดยเฉพาะมีความแตกต่างจากโขนตัวอื่นอย่างเห็นชัดเจน เมื่อโขนตัวลิง แสดงออกท่าทางตามแบบนาฏศิลป์โขนจะใช้วงลิงออกท่าทาง นอกจากนี้ การท� ำท่าไหว้ (พนมมือ) โขนตัวลิงยังแสดงออกแตกต่างจากโขนตัวอื่น คือ มือซ้ายแบมือ มือขวาท� ำวงลิง น� ำมา ประกบ โดยใช้นิ้วกลาง นิ้วนาง และนิ้วก้อย รวบฝ่ามือซ้ายไว้ มือเข้าอก นับเป็นท่าเฉพาะในแสดงอากัปกิริยาของลิงที่มักจะน� ำมือมาไว้ที่อก เป็นการระวังภัยอย่างหนึ่ง เพื่อจะคอยปัดป้องสิ่งต่าง ๆ ที่จะเข้ามาท� ำร้ายตน ท่าเกา เป็นกิริยาอาการของลิงในธรรมชาติที่แสดงอาการคัน เกาส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย อยู่ไม่นิ่ง หลุกหลิกตลอดเวลา ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนหรือท� ำอะไร ก็จะท� ำท่าเกา กระบวนท่าเกี้ยวพาราสี หนุมานจับนางสุพรรณมัจฉา พาลีเกี้ยวนางดารา
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=