สำนักราชบัณฑิตยสภา
225 ไพโรจน์ ทองค� ำสุก วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๕ ท่าโขนอันเป็นลักษณะเฉพาะตัวลิง โขนนิยมแสดงเรื่องรามเกียรติ์เป็นหลัก ตัวโขนในเรื่องรามเกียรติ์นั้น อาจแบ่งได้เป็น ๔ ประเภท ได้แก่ พระ นาง ยักษ์ และลิง ซึ่งแต่ละประเภทจะมีท่าทางที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้ _ ลักษณะเฉพาะตัวลิง มีการประดิษฐ์กระบวนท่าทางเฉพาะที่มีความแตกต่างไว้อย่างวิจิตร งดงาม เช่น วงลิง ปรากฏใช้ในท่าโขนลิงเกือบทั้งหมด มีลักษณะดังนี้ นิ้วชี้เหยียดตึง งอนิ้วกลาง นิ้วนาง นิ้วก้อย เรียงล� ำดับจากสูงไปหาต�่ ำ ให้นิ้วเรียงชิดติดกัน นิ้วหัวแม่มืองอ เข้าหาฝ่ามือ หักข้อมือตั้งขึ้น มือเข้าอก ปรากฏใช้ในท่าโขนลิงเกือบทั้งหมด มีลักษณะดังนี้ ปล่อยปลายมือห้อยลง ให้ข้อมือ อยู่ที่กลางหน้าอก หุบข้อศอก ถ้าเข้าอกมือเดียวอีกมือจะตั้งวงลิง ถ้าเข้าอก ๒ มือ มือซ้ายจะอยู่บน ท่าหย่อง ปฏิบัติได้ ๒ ข้าง แต่ต้องสลับมือกัน จัดอยู่ในชุดแม่ท่าออกฉาก จะใช้เป็นกิริยา “มอง” วิธีปฏิบัติ ยืนกางขา ย่อตัวลง ขาซ้ายตั้งเหลี่ยม ขาขวาหลบเหลี่ยม เปิด ส้นเท้าพอสมควร มือทั้งสองงอ มือซ้ายอยู่ในระดับหน้าอก มือขวาอยู่ในระดับ หน้าท้อง มือซ้ายอยู่บน ปลายนิ้วกลางข้างซ้ายจดข้อมือขวา หน้ามองทางซ้าย เอียงศีรษะขวา ท่าลิงซึ่งเป็นแม่ท่าหลัก มี ๗ ท่า ได้แก่ ท่าที่ ๑ ท่าที่ ๒ ท่าที่ ๓
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=