สำนักราชบัณฑิตยสภา
ค� ำคล้ายในภาษาไทยและภาษาไท 18 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 37 No. 2 April-June 2012 ๔. ข่องตฺซ้องฮ้อง = ชมพูสวย ข่องตฺซ้างฮ้าง = ชมพูไม่สวย ๕. เขวตฺซ้องฮ้อง = เขียวสวย เขวตฺซ้างฮ้าง = เขียวไม่สวย ๖. ส่อมก๋อดหล๋อด = ฟ้าสวย ส่อมก๋าดหล๋าด = ฟ้าไม่สวย ค� ำบอกรส ๑. ตฺซางก๋ะล้าด = จืดชืด ตฺซางก๋อดล๋อด = จืด แต่มีรสเค็มเล็กน้อย มักใช้กับรสแกงจืด ๒. เป้อเลิมเลิม = หวานจัด เป้อลอมลอม = หวานก� ำลังดี ๓. เตฺซ้มกึ๋ลึ๋ด = เค็มจัด เตฺซ้มก๋อล๋อด = เค็มเล็กน้อย ๔. ส้มตฺสามก๋าม = เปรี้ยวจัด ส้มตฺสอมก๋อม = เปรี้ยวเล็กน้อย ๕. เผตซาดชาด = เผ็ดจัด เผดซอดซอด = เผ็ดเล็กน้อย ๖. มั้นซาดซาด = มันมาก มั้นซอดซอด = มันก� ำลังดี เห็นได้ว่า ค� ำขยายที่มีเสียงสระ อา แสดงความรู้สึกของผู้พูดว่า ไม่สวย หรือมากเกินไป ค� ำขยาย ที่มีเสียงสระ ออ แสดงความรู้สึกของผู้พูดว่า สวย หรือก� ำลังดี หรือเพียงเล็กน้อยไม่มากนัก ตัวอย่างค� ำคล้ายในภาษาไทยถิ่นอีสานและภาษาไทเหนือล้วนเป็นค� ำขยาย คงจะต้องศึกษากัน ต่อไปว่า ค� ำคล้ายที่เป็นค� ำชนิดอื่นมีระบบการแปลงเสียงอย่างไรหรือไม่
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=