สำนักราชบัณฑิตยสภา
ลี ลาท่าภาษาโขนลิ ง 224 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 37 No. 2 April-June 2012 ประโยชน์ของการฝึกหัดโขนเบื้องต้น ๑. เพื่อเป็นการเตรียมตัวให้ผู้ฝึกเกิดความเคยชินกับจังหวะพื้นฐานในการฝึกหัดโขน ๒. เพื่อเป็นการฝึกให้รู้จักการเคลื่อนไหวอวัยวะที่ส� ำคัญตามท่าทางนาฏศิลป์ เช่น ล� ำตัว คอ ใบหน้า เพื่อให้เกิดความประสานกลมกลืนเป็นท่าทางนาฏศิลป์ที่งดงาม ๓. เพื่อเป็นการฝึกให้เกิดความอดทนต่อสภาพร่างกาย เพราะในการแสดงโขนจ� ำเป็นต้องใช้พละ ก� ำลังในการแสดงที่ค่อนข้างยาก และเป็นเวลายาวนาน เมื่อผ่านการฝึกหัดโขนเบื้องต้นครบถ้วนแล้ว ก็จะฝึกหัดกระบวนท่าเฉพาะคือการฝึกหัดแม่ท่าโขน ลิง โดยครูจะคอยดูแลจับท่าทาง จับมือ จับขา กดไหล่ แก้ไขข้อบกพร่อง ให้ปฏิบัติท่าทางได้อย่างถูกต้อง ภาษาท่าโขน ภาษาของมนุษย์ที่ใช้สื่อสารกันอยู่ในปัจจุบันนี้ อาจแบ่งได้เป็น ๒ ชนิด คือ ๑. การเปล่งเสียงออกมาทางปากเป็นถ้อยค� ำให้ได้ยิน เรียกว่า ภาษาพูด ๒. การแสดงกิริยาอาการเป็นท่าทางให้ได้เห็น เรียกว่า ภาษาท่า (ภาษากาย) ภาษาท่าทางนี้มีมาตั้งแต่โบราณกาล ก่อนที่จะรู้จักการใช้อวัยวะในการเปล่งเสียงออกมาเป็น ถ้อยค� ำ เช่นที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ ท่าทางต่าง ๆ จึงปรากฏมีอยู่มากมาย ซึ่งอาจแบ่งออกได้เป็น ๓ ประเภท ดังนี้ ๑. ท่าทางที่ใช้แทนค� ำพูด เช่น ตัวเรา ตัวท่าน รับ ปฏิเสธ สั่ง เรียก ฯลฯ ๒. ท่าทางที่ใช้เป็นอิริยาบถและกิริยาอาการ เช่น ยืน เดิน นั่ง นอน การแสดงความเคารพ ฯลฯ ๓. ท่าทางที่ใช้แสดงอารมณ์ เช่น รัก เกลียด โกรธ ดีใจ เสียใจ ร่าเริง โศกเศร้า ฯลฯ ท่าทางธรรมดาเมื่อน� ำมาใช้ในการแสดงโขน ก็มีการประดิษฐ์ดัดแปลงให้วิจิตรงดงามยิ่งขึ้นโดย มุ่งให้เกิดสุนทรียรสอันเป็นหลักส� ำคัญของศิลปะ และเพื่อให้กระบวนท่าทางต่าง ๆ นั้น สามารถแสดงร่วม กับดนตรี บทพากย์ เจรจา และบทร้องได้อย่างกลมกลืน กระบวนท่าทางการเต้นการร� ำอันเป็นภาษาของโขนลิงนั้น อาจแบ่งออกได้เป็น ๓ ชนิด คือ ๑. ท่าโขนอันเป็นลักษณะเฉพาะตัวลิง ๒. ท่าโขนในการร� ำเพลงหน้าพาทย์ ๓. ท่าโขนในการร� ำใช้บท
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=