สำนักราชบัณฑิตยสภา

ลี ลาท่าภาษาโขนลิ ง 222 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 37 No. 2 April-June 2012 ออกไปจนเหลี่ยมแบะได้ที่ จากนั้นให้ผู้ฝึกหัดบิดตัว ไปทางซ้ายทีหนึ่ง ทางขวาทีหนึ่ง ยืดตัวขึ้น แล้วใช้ ฝ่าเท้าขยี้ที่หัวเข่าทั้ง ๒ เพื่อให้เส้นคลาย ประโยชน์ ของการถีบเหลี่ยมคือท� ำให้ผู้ฝึกหัดมีเหลี่ยมที่สวยงาม ตามแบบการแสดงโขน ๕. ฉีกขา ใช้เฉพาะโขนตัวลิง จะปฏิบัติต่อ จากการถีบเหลี่ยม เมื่อถีบเหลี่ยมเสร็จผู้สอนจะให้ ผู้ฝึกหัดค่อย ๆ กางขาทั้งสองขาออกจากกันจนกระทั่ง นั่งลงกับพื้น โดยผู้สอนจะช่วยใช้ฝ่าเท้าทั้งสองข้างกด ลงไปที่หัวเข่า พร้อมทั้งค่อย ๆ ดันขาของผู้ฝึกให้แยก ออกไปด้านข้างจนเป็นเส้นตรง กดหัวเข่าแนบกับพื้น ประโยชน์ของการฉีกขาจะท� ำให้ผู้ฝึกหัดเกิดความ คล่องตัว สามารถตีลังกา และแสดงท่าทางของโขน ตัวลิงได้เป็นอย่างดี ๖. หกคะเมน หรือ ตีลังกา ใช้เฉพาะโขน ตัวลิง วิธีปฏิบัติ คือ ให้ผู้ฝึกหัดใช้ฝ่ามือทั้งสองยัน กับพื้น จากนั้นก็ถีบเท้าทั้งสองขึ้นไป ใช้ฝ่ามือยันเท้า ติดกับผนัง เมื่อผู้ฝึกหัดพอจะปฏิบัติได้ ก็ให้ผู้ฝึกหัด ปฏิบัติแบบเคลื่อนที่ โดยเท้าไม่ต้องติดผนัง ใช้วิธีเดิน ด้วยมือแทน ต่อจากนั้นต้องใช้อุปกรณ์ช่วยหกคะเมน ตีลังกา นั่นก็คือ เบาะ เพื่อช่วยให้เกิดความปลอดภัย ผู้ฝึกหัดตีลังกาไปข้างหน้าคือวิ่งมือยันพื้น ถีบตัวส่ง เท้าไปข้างหลังด้วยความเร็วและแรง ให้หมุนกลับ มายืน ผู้ฝึกหัดตีลังกาหลัง โดยยืนหันหลังย่อเข่า ทั้ง ๒ ข้างกระโดดเหวี่ยงตัวไปข้างหลัง มือทั้งสองยัน พื้นหมุนกลับมายืน นอกจากนี้ ยังมีการตีลังกาเหวี่ยง ตัวไปข้าง ๆ และพุ่งตัวม้วนลงไปข้างหน้ากับพื้น ท่าหกคะเมน หรือตีลังกานี้มีชื่อเรียกต่างกัน ดังนี้ การถีบเหลี่ยม การฉีกขา

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=