สำนักราชบัณฑิตยสภา
221 ไพโรจน์ ทองค� ำสุก วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๕ ๓. เต้นเสา วิธีปฏิบัติ คือ ผู้ฝึกหัดอยู่ในท่ายืน ต่อกันเป็นแถว จากนั้นกางขาย่อเข่าลง ส้นเท้าตรงกัน ปลายเท้าแบะออก ให้ขาทั้งสองเป็นรูปสี่เหลี่ยม ล� ำตัว ตั้งตรง เปิดปลายคาง มือทั้งสองตั้งหักข้อมือขึ้น นิ้วหัว แม่มือซ้อนเกี่ยวกัน เหยียดแขนให้ตึงมาด้านหน้าขนาน กับพื้น จากนั้นจึงยกเท้าขวาขึ้นแล้วกระทืบลงไปให้ ชิดเท้าซ้าย ยกเท้าซ้ายกระทืบลงไปชิดเท้าขวา แล้ว ยกเท้าขวากระทืบลงไป ยกเท้าซ้ายหนีบน่อง ซึ่งต้อง ปฏิบัติอย่างรวดเร็ว วิธีปฏิบัติเช่นนี้เรียกว่า “ตะลึกตึ้ก” จากนั้นกระทืบเท้าซ้ายลงไปแล้วยกเท้าขวาขึ้นท� ำสลับ ผลัดเปลี่ยนกันอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ เรียกรวมว่า เต้นเสา ประโยชน์ของการฝึกหัดเต้นเสา ท� ำให้ผู้ฝึกหัดมีก� ำลังขา ที่แข็งแรง สามารถออกท่าทางในการเต้นโขนได้นาน ๆ โดยไม่รู้สึกเหนื่อยง่าย ๔. ถีบเหลี่ยม ปฏิบัติต่อจากการเต้นเสา วิธี ปฏิบัติ คือ ผู้ฝึกหัดอยู่ในท่าหันหลังพิงเสาหรือผนัง ย่อ เหลี่ยมแบะเข่าออก ผู้สอนจะนั่งหันหน้าเข้าหาผู้ฝึกหัด แล้วใช้ฝ่าเท้าทั้งสองข้างถีบที่เข่าของผู้ฝึกหัด ค่อย ๆ ดัน การถองสะเอว การเต้นเสา
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=