สำนักราชบัณฑิตยสภา
ลี ลาท่าภาษาโขนลิ ง 220 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 37 No. 2 April-June 2012 ๑. ตบเข่า วิธีปฏิบัติ คือ ผู้ฝึกหัดนั่งพับเพียบ ดันหลัง ล� ำตัวตั้งตรง เปิดปลายคาง มองตรงไป ข้างหน้า มือทั้งสองวางอยู่บนหัวเข่า พอเริ่มฝึกหัดก็ยกมือขวาขึ้นตบฝ่ามือลงไปบนเข่าขวา นับ ๑ ยกมือ ซ้ายขึ้นแล้วตบฝ่ามือซ้ายลงไปบนเข่าซ้าย นับ ๒ ยกมือขวาขึ้นแล้วตบลงอีกครั้งหนึ่งยกมือซ้าย นับ ๓ เมื่อ ปฏิบัติได้อย่างนี้ก็นับว่าเสร็จไปขั้นตอนหนึ่งแล้ว ต่อจากนั้นก็ตบฝ่ามือซ้ายลงไปบนเข่าซ้าย นับ ๑ ยกมือ ขวาขึ้น แล้วตบฝ่ามือขวาลงไปบนเข่าขวา นับ ๒ ยกมือซ้ายแล้วตบฝ่ามือซ้ายลงไปบนเข่าซ้าย นับ ๓ ยกมือ ขวา การตบเข่านี้ ปฏิบัติได้ทั้งปิดจังหวะและเปิดจังหวะ การปฏิบัติปิดจังหวะคือการนับจังหวะที่มือตบลง นับ ๑-๒-๓ ส่วนการปฏิบัติเปิดจังหวะคือการนับจังหวะที่มือตบลง ๓ ครั้งอย่างต่อเนื่อง นับเป็น ๑ จังหวะ ประโยชน์ของการฝึกหัดตบเข่าก็เพื่อให้ผู้ฝึกหัดรู้จักจังหวะ ควบคุมจังหวะได้อย่างคงที่ เพราะจังหวะเป็น หลักส� ำคัญในการแสดงโขน ๒. ถองสะเอว มักจะปฏิบัติต่อจากท่าตบเข่า วิธีปฏิบัติ คือ ผู้ฝึกหัดนั่งพับเพียบในท่าเดิม มือ ทั้งสองหงาย แล้วก� ำมือ หักข้อมือขึ้นข้างล� ำตัว งอแขนให้ข้อศอกอยู่ห่างจากเอวประมาณ ๑ คืบ ให้แขน ขนานกับพื้น จากนั้นเริ่มต้นด้วยการกระทุ้งศอกขวาที่เอว พร้อมกับเอียงคอทางซ้าย และล� ำตัวไปทางซ้าย ต่อจากนั้นก็เปลี่ยนเป็นกระทุ้งศอกซ้ายที่เอวพร้อมกับเอียงคอทางขวา และล� ำตัวไปทางขวานับเป็นจังหวะ ๑-๒-๓ ท� ำเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ ประโยชน์ของการฝึกหัดถองสะเอว ท� ำให้ผู้ฝึกหัดรู้จักการยักเยื้องล� ำตัว ยักคอ ยักไหล่ และใช้ช่วงเอวให้อ่อนไหวไปตามจังหวะได้เป็นอย่างดี การตบเข่า
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=