สำนักราชบัณฑิตยสภา
219 ไพโรจน์ ทองค� ำสุก วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๕ ด้านการแสดงโขนลิง ผู้เชี่ยวชาญโขนลิง ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับลักษณะของลิงในการแสดงโขน ว่า ลิงส่วนใหญ่จะมีอุปนิสัยซุกซน ขี้เล่น และมักแสดงอากัปกิริยาหยอกล้อสนุกสนานไม่อยู่นิ่ง ครูโขนลิง ได้น� ำกิริยาท่าทางต่าง ๆ ของลิงมาปรุงแต่ง ปรับลดให้เกิดกระบวนท่าที่งดงามตามแบบนาฏยศิลป์เป็นพื้น ฐาน และน� ำการเต้นหนังใหญ่ การต่อสู้ด้วยกระบี่กระบอง และท่าทางที่งามสง่าของเทพเจ้าผู้ให้ก� ำเนิด มา รวมกันได้อย่างลงตัว กิริยาท่าทางของลิงแสม ผู้แสดงโขนตัวลิงจะต้องได้รับการคัดเลือกจากครูผู้สอน โดยมีวิธีการคัดเลือกและการฝึกหัด อย่างต่อเนื่อง ดังนี้ การคัดเลือกผู้ฝึกหัดโขนลิง คัดเลือกจากเด็กชาย อายุระหว่าง ๑๐-๑๒ ปี โดยมีเกณฑ์ในการคัดเลือก ดังนี้ เด็กผู้ชายที่มีรูปร่างท้วม สูงหรือเตี้ยก็ได้ ล� ำคอสั้น ท่าทางคล่องแคล่วว่องไว มือเท้าไม่ใหญ่นัก มีร่างกายแข็งแรง การฝึกหัดโขนเบื้องต้น การฝึกหัดโขนเบื้องต้น เป็นการเตรียมความพร้อมของร่างกาย และจิตใจ กระบวนท่าทางต่าง ๆ ในการฝึกหัดจะเป็นพื้นฐานอันน� ำไปสู่การแสดงโขนลิง ซึ่งการฝึกหัดโขนเบื้องต้นแต่ละประเภทจะมีลักษณะ และประโยชน์ ดังต่อไปนี้
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=