สำนักราชบัณฑิตยสภา
The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 37 No. 2 April-June 2012 ลีลาท่าภาษาโขนลิง * บทคัดย่อ การแสดงโขนของไทยแสดงเรื่อง รามเกียรติ์ เนื้อเรื่องส่วนใหญ่เป็นการท� ำสงครามระหว่าง พระรามกษัตริย์แห่งกรุงอโยธยา ซึ่งมีไพร่พลวานรเป็นกองทัพ กับทศกัณฐ์พญายักษ์แห่งกรุงลงกาที่ มีบรรดาพญายักษ์ และไพร่พลยักษ์เป็นกองทัพ วานรที่ปรากฏในการแสดงโขนมีกระบวนลีลาท่าทาง ที่ได้รับอิทธิพลมาจากอากัปกิริยาของลิงในธรรมชาติ ผสมผสานกับกระบวนท่าการเชิดหนังใหญ่ และกระบวนท่าของกระบี่กระบอง ลีลาท่าทางต่าง ๆ แสดงออกเป็นภาษาท่าทาง ใช้ในการโต้ตอบ เป็นภาษาโขนลิงอันเป็นลักษณะเฉพาะของโขนตัวลิง จากการศึกษาค้นคว้า พบว่า ท่าทางอันเป็น อากัปกิริยาของลิงในการแสดงโขนนั้นมีที่มาจากลิงแสมซึ่งเป็นลิงที่มีอยู่ชุกชุมในประเทศไทย โดย ได้ศึกษาจากพื้นที่ที่มีลิงแสมอาศัยอยู่ ได้แก่ บริเวณศาลพระกาฬ จังหวัดลพบุรี เขาสามมุข จังหวัด ชลบุรี และเขาวัง จังหวัดเพชรบุรี ค� ำส� ำคัญ : ลีลาท่า, ภาษาโขนลิง * ปรับปรุงจากการบรรยายทางวิชาการในการประชุมส� ำนักศิลปกรรม เมื่อวันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๕๓ ลิงในการแสดงโขน มีความส� ำคัญต่อการแสดงไม่น้อยกว่าโขนประเภทอื่น ๆ ลิง ตาม พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ให้ความหมายว่า สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีลักษณะคล้ายคน ตีนหน้าและตีนหลังใช้จับเกาะได้ มีหางยาว ลิงแสม ชื่อลิงชนิดหนึ่ง เป็นลิงที่หางยาวที่สุด ตัวสีน�้ ำตาลปนเทาหรืออมเขียว ขนตัวสั้นและ วนเป็นขวัญ ขนหัวซ้อนขึ้นเป็นสันกลางหัว อยู่รวมกันเป็นฝูง พบมากในแถบอินโดจีน เช่น ประเทศไทย พม่า ฟิลิปปินส์ นิสัยค่อนข้างซุกซน ไม่ดุร้าย เลี้ยงเชื่อง หัดง่าย กินพืช แมลง หอย ปู และปลาเป็นอาหาร ด้วยนิสัยดังกล่าวชาวบ้านจึงสามารถจับลิงได้และคุ้นเคย น� ำมาฝึกหัดตั้งแต่เล็ก ให้สามารถเล่นละครลิงได้ ไพโรจน์ ทองค� ำสุก ภาคีสมาชิก ส� ำนักศิลปกรรม ราชบัณฑิตยสถาน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=