สำนักราชบัณฑิตยสภา

17 นววรรณ พั นธุเมธา วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๕ ๒. ค� ำขยายบอกรูปพรรณสัณฐาน เสียง สระ เอ แอ บอกลักษณะแบน เสียงสระ ออ โอ บอกลักษณะกลม เสียงสระ ออ บอกลักษณะของที่ป้อม ๆ หดตัว เสียงสระ อา บอกลักษณะของที่แผ่ออก เต็มที่ ตัวอย่าง ๑. ไม้บรรทัดวาง แข่แหล่ อยู่บนโต๊ะ มีดฟันถูกนิ้วขาด ข่อหล่อ ๒. แมวนอนขด จอบพอบ น้องง่วงมาก ไปถึงบ้านก็นอน จาบพาบ ๓. ค� ำขยายบอกพจน์ ค� ำสองพยางค์ที่มีเสียงสระ ออ แสดงลักษณะของขนาดเล็กเอกพจน์ ถ้าเพิ่มพยางค์ที่มีเสียง สระ แอ อีกสองพยางค์ข้างท้าย ท� ำให้มีสี่พยางค์ แสดงลักษณะของขนาดเล็กพหูพจน์ ค� ำสองพยางค์ที่มีเสียงสระ โอ แสดงลักษณะของขนาดใหญ่พหูพจน์ ถ้าเพิ่มพยางค์ที่มีเสียง สระ เอ อีกสองพยางค์ข้างท้าย ท� ำให้มีสี่พยางค์ แสดงลักษณะของขนาดใหญ่พหูพจน์ ตัวอย่าง แม่ซอยถั่วฝักยาวเป็นชิ้น ข้อหล้อแข้แหล้ ก้อนดิน โข้โหล้เข้เหล้ ขวางทางไว้ ตัวอย่างในภาษาไทเหนือพบในรายงานการวิจัยเรื่อง “การศึกษาวิเคราะห์ค� ำศัพท์ในภาษาไท เหนือ” ภาษาไทเหนือมีค� ำขยายที่ใช้เสียงสระต่างกันแสดงความรู้สึกที่ต่างกัน เขามีค� ำขยายค� ำบอกสีและ ค� ำบอกรส ดังนี้ ค� ำบอกสี ๑. เผิกสอกหลอก = ขาวสวย เผิกสากหลาก = ขาวซีด ๒. เหลิงตฺส่องห่อง = เหลืองสวย เหลิงตฺส่างห่าง = เหลืองไม่สวย ๓. แลงตฺซ้องฮ้อง = แดงสวย แลงตฺซ้างฮ้าง = แดงไม่สวย

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=