สำนักราชบัณฑิตยสภา

ค� ำคล้ายในภาษาไทยและภาษาไท 16 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 37 No. 2 April-June 2012 ภาษาไทเหนือ ยื้อ = ยิง ยือ = เล็ง ยื้ง, เย้ง = เล็ง หรือยิงไปยัง ม่าง = ๑. ครึ่ง ๒. แหว่ง เช่น เข้วม่าง (=ฟันหลุดหาย), บิ่น เช่น พ่าม่าง (=พร้าบิ่น) แม่ง = แหว่ง เช่น เข้วแม่ง (=ฟันหลุดหาย), บิ่น เช่น หว่านแม่ง (=ชามบิ่น) เห็นได้ว่า ไม่เฉพาะแต่ภาษาไทยเท่านั้นที่มีค� ำคล้าย ภาษาไทหลายภาษาก็มีค� ำคล้าย ค� ำคล้าย บางคู่มีร่วมกันทั้งในภาษาไทยและภาษาไทภาษาต่าง ๆ แต่ค� ำคล้ายบางคู่มีเฉพาะในภาษาใดภาษาหนึ่ง ด้วยเหตุที่มีค� ำคล้ายจ� ำนวนมาก เราก็อาจถือได้ว่า การแปลงเสียงของค� ำเป็นวิธีสร้างค� ำอย่างหนึ่งในภาษา ตระกูลไท อย่างไรก็ตาม เท่าที่ได้พยายามศึกษา ยังไม่พบระบบของการแปลงเสียง ยังไม่อาจสันนิษฐานได้ ว่า ค� ำเสียงใดเป็นค� ำเดิม ค� ำเสียงใดเกิดจากการแปลงค� ำ และยังไม่อาจบอกได้ว่า ความแตกต่างของเสียง เกี่ยวข้องกับความหมายอย่างไร มีตัวอย่างความแตกต่างของเสียงที่เกี่ยวข้องกับความหมายอยู่บ้างเพียง ในภาษาไทยถิ่นอีสาน และภาษาไทเหนือ ตัวอย่างในภาษาไทยถิ่นอีสานพบในบทความของศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ประคอง นิมมานเหมินท์ เรื่อง “เสียงสระในค� ำขยายบางค� ำในภาษาอีสาน” ค� ำขยายที่รวบรวมไว้เป็นค� ำสองพยางค์ และค� ำ สี่พยางค์ เสียงสระในค� ำขยายเหล่านี้บอกขนาดใหญ่หรือเล็กของสิ่งของ หรือบอกรูปพรรณสัณฐาน หรือ บอกพจน์ ดังนี้ ๑. ค� ำขยายบอกขนาดใหญ่หรือเล็กของสิ่งของ เสียงสระ อิ อี แอะ แอ เอาะ ออ แสดงลักษณะของสิ่งของที่มีขนาดเล็ก เสียงสระ อะ อา อึ อื เอะ เอ อุ อู โอะ โอ แสดงลักษณะของสิ่งที่มีขนาดใหญ่ ตัวอย่าง เหรียญสมัยก่อนตรงกลางเป็นรูน้อย จิ่งปิ่ง รูจมูกยักษ์ใหญ่ จึ่งปึ่ง

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=