สำนักราชบัณฑิตยสภา
15 นววรรณ พั นธุเมธา วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๕ ว่าหวาง (ว่า = โบก, แกว่ง) = โบกสะบัด ว่าแหวง = โบกอย่างแรง ว่าแหวว = โบกอย่างเร็ว ซุ่งวาง = สูงใหญ่ ซุ่งแวง = สูงชะลูด ภาษาไทเมืองเติ๊ก บิ่น = บิ่น (ใช้กับแก้ว ชาม ฯลฯ) บิ้น = บิ่นน้อย ๆ บ่าน = ร่อย (ใช้กับมีด พร้า ฯลฯ) จโด่ = สูงโด่ จด่อ = สูงขึ้น แต่ไม่มากเท่าจโด่ บิบ = บีบ แบบ = บีบโดยแรงจนผิดรูป ต๊กป๋อม, ต๊กแป๋ม, ต๊กปิ๋ม, ต๊กปุ๋มปิ๋ม = ตกลงน�้ ำ (ใช้กับของไม่หนัก) ต๊กโป๋ม = ตกลงน�้ ำ (ใช้กับของหนัก เช่น ก้อนหิน) ต๊กปุ๋ม = ตกลงน�้ ำลึก ๆ ต๊กโปบ = ตกจากที่สูงลงดิน เช่น ผลไม้ตก ต๊กซาลาโปบ = ตกเร็วและเสียงดัง เช่น คนตกต้นไม้ ภาษาไทพ่าเก่ วิ้ด = เสียงหวดด้วยไม้เล็ก ๆ วุ่ด = หวด (ด้วยไม้เล็ก ๆ หรือสายหนังยาว ๆ อย่างแซ่) ง�้ ำ = คลุม, ครอบ, ปก เช่น เอ๊ามื้อง�้ ำไว่ (=เอามือปกไว้) งุ้ม = คลุม เช่น โม้บงุ้มหน้า (=หมวกคลุมหน้า) หมายถึง หมวกแก๊ป หงุ่ม = คลุมให้ร่มเงา เช่น โต่นไม่หงุ่มไว่ตี่แค้ (=ต้นไม้คลุมตลิ่ง ท� ำให้ร่ม) คุด = ขุด เช่น คุดฮู้ (=ขุดรู) คุก = ขุด เช่น คุกเฮ้อ (=ขุดเรือ) นิ้มนิ้ม = เรียบร้อย เช่น ผั่นสายนิ้มนิ้ม (=ฟั่นเชือกอย่างเรียบร้อย) นิ๋มนิ๋ม = สงบเสงี่ยม เช่น หนั่งนิ๋มนิ๋ม (=นั่งนิ่ง ๆ สงบเสงี่ยม)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=