สำนักราชบัณฑิตยสภา
ค� ำคล้ายในภาษาไทยและภาษาไท 12 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 37 No. 2 April-June 2012 ภาษาจ้วงใต้ พูดที่อ� ำเภอเต๋อเป่า เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง สาธารณรัฐประชาชนจีน ภาษาไทขาว พูดที่เมืองไล สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ภาษาไทเมืองเติ๊ก พูดที่เมืองเติ๊ก สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ภาษาไทพ่าเก่ พูดที่รัฐอัสสัม สาธารณรัฐอินเดีย ภาษาไทเหนือ พูดที่เมืองขอน มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน ค� ำคล้ายบางคู่ในภาษาไทย เป็นค� ำคล้ายในภาษาไทที่ส� ำรวจด้วย เช่น ๑. ตั้ง (=ทรงตัวอยู่) ตั่ง (=สิ่งที่ตั้ง ได้แก่ ที่ส� ำหรับนั่ง ไม่มีพนัก) ภาษาจ้วงใต้ ตั๋ง (=ตั้ง, ตั้งขึ้น) ตั๊ง (=ตั่ง, ม้านั่ง) ภาษาไทขาว ตั๋ง (=ตั้ง, สร้าง) ตั๊ง (=เก้าอี้) ภาษาไทเมืองเติ๊ก ตั้ง (=สร้าง) ตั่ง (=เก้าอี้) ภาษาไทพ่าเก่ ตั่ง (=ตั้ง, วาง) ตั๊ง (=ม้านั่ง, เก้าอี้) ภาษาไทเหนือ ตั้ง (=ตั้ง, ชัน) ตั่ง (=ม้านั่ง, เก้าอี้) ๒. เลือด (=ของเหลว ปรกติมีสีแดงอยู่ในร่างกาย) เรือด (=แมลงกินเลือด) [ภาษาจ้วงใต้ ลูด (=เลือด, เรือด)] ภาษาไทขาว เหลิด (=เลือด) โต่เหิด (=เรือด) ภาษาไทเมืองเติ๊ก เหลือด (=เลือด) โต๋เหือด (=เรือด) ภาษาไทพ่าเก่ เนิด (=เลือด) เฮิด (=เรือด) ภาษาไทเหนือ เลิด (=เลือด) เฮิด (=เรือด) ๓. เกี่ยว (=พัน) เกี้ยว (=เกาะติดไว้ด้วยสิ่งที่งอเป็นขอ) ภาษาไทพ่าเก่ เก่ว (=พัน) เช่น เถาเก่วกึ๊น (=เถาไม้พันกัน), รัก เช่น สองก้อเก่วกึ๊น (=สองคนชายหญิงรักกัน เก๊ว (=เกี่ยว) เช่น ขอเก๊ว (=ตาขอ) ภาษาไทเหนือ เก้ว (=พัน) เช่น เค้อปั้กเก้วตีเหลอต้นไม่ (=เถาฟักพันเหนือต้นไม้) เก่ว (=เกี่ยว, ขอเกี่ยว) เช่น เอาทุ้งล�่ ำเก่วขึ้นม้า (=เอาถังน�้ ำเกี่ยวขึ้นมา คือเกี่ยวถังน�้ ำขึ้นมา) ๔. แกน (=วัตถุแข็งที่อยู่ตรงกลาง) แก่น (=แข็ง, เนื้อไม้แข็งที่อยู่ตรงกลาง) ภาษาไทพ่าเก่ แก๊น (=แกน) เช่น แก๊นเข้าพ่า (=ซังข้าวโพด) แก๊นไม่ (=แก่นไม้) แก๊น (=แก่น แข็ง) เช่น ไม่แก๊น (=ไม้แก่น ไม้เนื้อแข็ง)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=