สำนักราชบัณฑิตยสภา

157 มติ ตั้ งพานิ ช วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๕ อาคารนิทรรศการของจีน มีลักษณะ เหมือนพีระมิดหงาย ท� ำด้วยโครงเหล็กเป็นคาน ขนาดใหญ่สีแดงพาดไขว้กัน รองรับด้วยแกนเสา ขนาดใหญ่ ๔ แกน ซึ่งภายในเป็นแกนลิฟต์และ บันได มีชื่อเรียกว่า Oriental Crown มีที่มารูป ทรงจากโต๋วก่ง (dougong) ซึ่งเป็นหน่วยของ ระบบโครงสร้างไม้โบราณของจีน ที่ใช้ไม้เรียงซ้อน ต่อยึดขัดไขว้ไปมาโดยไม่ใช้ตะปู สามารถต่อยื่น ออกมารับโครงสร้างส่วนบนได้ สื่อความหมายถึง ความมั่งคั่ง และการพัฒนาสู่อนาคตอย่างมีเอกภาพ จากการพึ่งพาและร่วมมือกันของชนชาติและวัฒนธรรม ที่แตกต่างกัน โครงสร้างเป็นเหล็กและคอนกรีต ภายนอกบุด้วยแผ่นโลหะสีแดง ชั้นล่าง ชั้นสอง และ ชั้นที่สาม เป็นพื้นที่นิทรรศการของมณฑลต่าง ๆ ในประเทศจีน ผนังดาดฟ้าอาคารเป็นสวนแบบจีน ขนาดใหญ่ ดาดฟ้าของอาคารนิทรรศการใหญ่เป็นโถงต้อนรับแขกระดับผู้น� ำประเทศ มีลานกว้างโดยรอบ ที่สามารถมองเห็นบริเวณงานและทิวทัศน์ของนครเซี่ยงไฮ้ได้อย่างชัดเจน พื้นบริเวณปลายลานเป็นแนว กระจกนิรภัยใส เมื่อยืนหรือเดินบนพื้นกระจกส่วนนี้ จะให้ความรู้สึกเหมือนลอยหรือเดินอยู่กลางอากาศ ศาลาไทย มีพื้นที่ ๓,๐๐๐ ตาราง เมตร เป็นอาคารนิทรรศการที่ได้รับความนิยม ๕ อันดับแรก รูปแบบอาคารเป็นสถาปัตยกรรมไทยประยุกต์ มีศาลา ไทยเหมือนกับงาน มหกรรมโลกปีที่ผ่าน ๆ มา ไม่มี องค์ประกอบใดที่สื่อกับหัวข้อเรื่องของงาน นิทรรศการ ภายในเน้นเรื่องการเล่นแสง สี เสียงเกี่ยวกับการท่องเที่ยว และเศรษฐกิจพอเพียง

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=