สำนักราชบัณฑิตยสภา

11 นววรรณ พั นธุเมธา วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๕ ๓. การแปลงเสียงระหว่างพยัญชนะต้นที่ควบกล�้ ำกับ ร ล ว กับพยัญชนะต้นที่เป็น ร ล ว โดย ไม่มีพยัญชนะตัวอื่นมาควบกล�้ ำ เช่น พรวน-ร่วน ปลอก-ลอก เคลื่อน-เลื่อน ควัก-วัก นอกจากนั้น ผู้ช่วยศาสตราจารย์วัลยาได้ศึกษาความสัมพันธ์ทางด้านความหมายของค� ำแต่ละคู่ ที่แปลงเสียงวรรณยุกต์ และค� ำแต่ละคู่ที่แปลงเสียงพยัญชนะ สรุปว่า ค� ำแต่ละคู่อาจสัมพันธ์กันทางด้าน ความหมาย ดังนี้ ๑. อาการที่ใช้สิ่งหนึ่งเป็นเครื่องมือ-สิ่งที่ใช้เป็นเครื่องมือ เช่น คั่น-คัน เกี่ยว-เคียว เคี้ยว-เขี้ยว ๒. อาการอย่างหนึ่ง-สิ่งหรือสถานภาพที่เป็นผลของอาการนั้น ๆ เช่น ก่ง-กง ค้อม-ค่อม ทอน-ตอน เหนื่อย-เนือย ๓. อาการอย่างหนึ่ง-สิ่งหรือสถานภาพซึ่งมีลักษณะร่วมกับอาการนั้น ๆ เช่น ตั้ง-ตั่ง คอน-ค่อน พรวน-ร่วน ละ-ปละ ๔. สถานภาพอย่างหนึ่ง-สิ่งซึ่งมีลักษณะร่วมกับสถานภาพนั้น ๆ เช่น แน่ว-แนว ลุ่ม-หลุม ๕. สิ่งซึ่งมีลักษณะหรือคุณสมบัติบางอย่างร่วมกัน เช่น ปล้อง-ปล่อง แป้น-แผ่น รอบ-กรอบ ๖. สถานภาพที่บอกลักษณะบางอย่างร่วมกัน เช่น ค้อม-ค่อม จืด-ชืด เรียว-เพรียว ๗. การกระท� ำบางอย่างที่มีอาการร่วมกัน เช่น ไขว้-ไขว่ ปิ้ง-ผิง ฟัด-ฝัด ลบ-กลบ ๘. การกระท� ำอย่างหนึ่งเกิดก่อนการกระท� ำอีกอย่างหนึ่ง เช่น ล้วง-ล่วง ข่ม-ก้ม ยุด-หยุด ปลุก-ลุก เรื่องค� ำคล้ายเป็นเรื่องที่น่าสนใจ น่าเชื่อว่ามีการแปลงค� ำเพื่อสร้างค� ำใหม่ ค� ำถามคือการแปลง ค� ำเช่นนี้มีระบบหรือไม่ และมีอยู่เฉพาะในภาษาไทย หรือมีในภาษาตระกูลไทอื่น ๆ ด้วย ภาษาในตระกูลไทที่พูดกันนอกประเทศไทยในบทความนี้จะเรียกว่า ภาษาไท ภาษาไทที่ส� ำรวจ ค� ำคล้าย ได้แก่

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=