สำนักราชบัณฑิตยสภา

151 มติ ตั้ งพานิ ช วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๕ ๒ ชั้น เป็นทางสัญจรหลักตลอดแนวความยาวบริเวณงาน ชั้นบนเป็นลานทางเดินโล่ง มีหลังคาโครงเหล็ก ขึงผ้าใบ และที่นั่งพักเป็นระยะ บนทางเดินระดับนี้สามารถมองเห็นอาคารนิทรรศการทั้งสองฝั่งได้ชัดเจน ส่วนชั้นล่างเป็นทางเดินในร่ม ที่นั่งพักผ่อนและลานโล่งที่เข้าถึงอาคารนิทรรศการต่าง ๆ บนระดับพื้น รวมทั้ง ทางไปอาคารบริการ และห้องน�้ ำซึ่งสะอาดที่มีหลายรูปแบบตามความถนัดของผู้ใช้ แนวทางเดินนี้ตัดกับ แนวทางเดินของ EXPO Axis ที่บริเวณจุดเชื่อมต่อโซนเอกับโซนบีด้านหลังอาคารนิทรรศการของจีน ส่วนโซนดีและโซนอีซึ่งอยู่คนละฝั่งแม่น�้ ำ เป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์ อาคารนิทรรศการแสดงหัวข้อ เรื่องของงาน (theme pavilion) อีก ๒ หลัง และอาคารนิทรรศการขององค์กรหรือบรรษัทขนาดใหญ่ ที่เข้าร่วมแสดงนิทรรศการในงานครั้งนี้ เช่น โคคาโคล่า, CSSC โซนดีและโซนอีเชื่อมกับฝั่งโซนเอ โซนบี และ โซนซี ด้วยเรือข้ามฟาก ภูมิสถาปัตยกรรมในบริเวณงาน นอกจากการวางผังบริเวณแล้วยังรวมการออกแบบต่าง ๆ เช่น ลานโล่ง ลานสนาม ลานพื้น ไม้ยืนต้นและไม้ประดับ สถานที่พักผ่อน สิ่งประดับ ลานทางเดินและถนน (street furniture) เช่น เสาไฟ ที่นั่งพักผ่อน ป้ายรถ ป้ายสัญญาณ แผนที่ ป้ายทิศทางต่าง ๆ ที่สื่อข้อมูล ข่าวสารชัดเจน ระบบการดูแลรักษาความปลอดภัย ความสะอาด ความเป็นระเบียบเรียบร้อยในบริเวณ สวนของงานมหกรรมโลกเป็นไปอย่างเข้มงวดและมีประสิทธิภาพ เช่น การบริหารจัดการให้ผู้เข้าชม เข้าแถวรอเข้าชมนิทรรศการ ในอาคารนิทรรศการต่าง ๆ ที่ใช้เวลานานนับชั่วโมง เมื่องานสิ้นสุดลง บริเวณ EXPO Park ใช้เพื่อเป็นสวนสาธารณะของเมืองและชุมชนแห่งใหม่ต่อไป อาคารในบริเวณงาน อาคารในงานมหกรรมโลกมีหลายประเภท เช่น อาคารถาวรที่ก่อสร้างแล้วจะคงไว้ใช้ประโยชน์ ต่อไปโดยไม่รื้อถอนหลังจากงานเลิกแล้ว และอาคารชั่วคราวที่ก่อสร้างไว้ใช้เฉพาะในช่วงเวลางานเท่านั้น ต้องรื้อถอนออกในภายหลัง การออกแบบก่อสร้างอาคารต่าง ๆ ในงานจึงต้องมีแนวความคิดในการ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=