สำนักราชบัณฑิตยสภา
ค� ำคล้ายในภาษาไทยและภาษาไท 10 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 37 No. 2 April-June 2012 ต้นที่เป็นธนิตกับสิถิลก็หาได้ไม่ยาก เช่น แผ่น “ลักษณนามเรียกสิ่งที่แบนและบาง” กับ แป้น “แบน, บางและกลม” ปัว “เพศชาย, ผู้ชาย” กับ ผัว “ผู้ชายที่แต่งงานกับ ผู้หญิง” เป็นต้น... การเปลี่ยนระหว่างเสียงก้องและไม่ก้องของพยัญชนะต้นก็พบในภาษาไทยเช่นกัน ภาษาไทยมีค� ำว่า เขี้ยว “ฟันส� ำหรับฉีกและเคี้ยว” และ เคี้ยว “เคี้ยวอาหาร”… ในบทความนี้ ผู้เขียนจะมุ่งเน้นค� ำไทยที่มีความแตกต่างกันในท� ำนองเดียวกันทั้ง ทางด้านเสียงวรรณยุกต์ และด้านความหมาย ไม่มีเหตุผลที่จะสงสัยว่า ค� ำคู่เหล่านี้จะไม่ สัมพันธ์กัน และค� ำซึ่งใช้เป็นตัวอย่างถึงร้อยกว่าคู่ ก็เพียงพอที่จะให้เรายอมรับได้ว่า ใน ภาษาไทดั้งเดิมมีการสร้างค� ำใหม่จากค� ำเดิมโดยการใช้ความแตกต่างทางเสียงวรรณยุกต์ (อ้างถึงในวิทยานิพนธ์เรื่อง “ การแปลงค� ำในภาษาไทย ” หน้า ๒๐-๒๑) ผู้ช่วยศาสตราจารย์วัลยา ช้างขวัญยืน ศึกษาค� ำคล้ายในวิทยานิพนธ์เรื่อง “การแปลงค� ำในภาษา ไทย” โดยรวบรวมทั้งค� ำในภาษาไทยมาตรฐานและค� ำในภาษาไทยถิ่น ได้ค� ำประมาณ ๒๐๐ คู่ ที่มีเสียง ต่างกันเฉพาะเสียงวรรณยุกต์ เสียงพยัญชนะต้นหรือเสียงสระ และมีความหมายเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน เช่น เกี่ยว-เกี้ยว ปุด-ผุด แปลบ-ปลาบ ผลของการศึกษา สรุปได้ว่า “ความผิดแผกของค� ำคู่ดังกล่าวอาจเกิด จากระบบบางอย่างในภาษาไทย ที่ใช้สร้างค� ำใหม่ขึ้นในภาษา แต่ปัจจุบันระบบดังกล่าวได้สูญหายไปจาก ภาษาไทยทุกถิ่นในประเทศไทย วิธีสร้างค� ำนั้นเรียกว่า ‘การแปลงค� ำ’” ผู้ช่วยศาสตราจารย์วัลยา กล่าวถึงการแปลงค� ำว่าการแปลงเสียงสระมี ๒ ลักษณะ ได้แก่ ๑. การแปลงเสียงระหว่างสระสั้นกับสระยาว เช่น คั่ง-ค้าง ทับ-ทาบ วับ-วาบ เบอะ-เบ้อ ๒. การแปลงเสียงสระ ให้มีคุณสมบัติต่างกัน เช่น นบ-นอบ น้อม-โน้ม นุ่ม-นิ่ม บู้-บี้ การแปลงเสียงพยัญชนะมี ๓ ลักษณะ ได้แก่ ๑. การแปลงเสียงระหว่างพยัญชนะต้นที่เป็นอักษรกลางกับพยัญชนะต้นที่เป็นอักษรสูงหรือ อักษรต�่ ำ เช่น จก-ฉก แป-แผ่ เกี่ยว-เคียว แกะ-แคะ ๒. การแปลงเสียงระหว่างพยัญชนะต้นที่เป็นอักษรสูงกับพยัญชนะต้นที่เป็นอักษรต�่ ำ เช่น ขัด-คัด สอง-ซอง ฝัด-ฟัด หลาม-ลาม
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=