สำนักราชบัณฑิตยสภา

139 มาลิ ทั ต พรหมทั ตตเวที วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๕ ปลาเทโพเท่านั้น ปลาแห้ง มักใช้ปลาช่อนแห้ง น� ำมานึ่งพอลอกเอาหนังออกได้ แล้วขูดให้เนื้อ ปลาฟู ซอยหอมแดงลงเจียวในน�้ ำมันพืชพอเหลือง แล้วตักขึ้น น� ำเนื้อปลาผัดกับน�้ ำมันที่เหลือใน กระทะ เวลาจะจัดส� ำรับผสมเนื้อปลากับน�้ ำตาล ทรายขาวโรยหน้าด้วยหอมเจียว ฉู่ฉี่ เป็นแกงแห้ง ใส่ผงกะหรี่ มีเนื้อปลาหรือเนื้อหมูเป็นเครื่องปรุง หลัก โรยหน้าด้วยใบมะกรูดหั่นฝอย อาหารจีนจากเมืองรมจักรเป็นพวก ต้มจืดเครื่องในเช่นตับเหล็ก หรือม้าม ท� ำเป็น เกาเหลาคือไม่ใส่เส้น เป็ด ไก่ ที่ถอดกระดูกแล้ว น� ำไปทอด ม้าอ้วน คืออาหารว่างที่เหมือนขนมจีบ เพียงแต่ไม่มีแป้งหุ้ม ท� ำจากกุ้งหรือหมูสับใส่ถ้วย ตะไลน� ำไปนึ่ง กินกับน�้ ำส้มพริกต� ำ แกงร้อน ก็คือ วุ้นเส้น หมี่ คือเส้นหมี่ มี หมูเค็ม ด้วย เหล้าอาหนี ฉู่ฉี่ปลาทู เป็นเหล้าชนิดหนึ่งมี anise หรือ aniseed คือเมล็ดผักชีหรือยี่หร่า ซึ่งมีกลิ่นหอมฉุนเป็นส่วนผสม ส่วน น�้ ำชัยบาน ก็คือเครื่องดื่มในการมีชัย ซึ่งน่าจะเป็นเหล้าอย่างใดอย่างหนึ่ง นอกจากอาหารคาวแล้วยังมีของหวาน มีขนมนมเนยด้วย เป็นงานเลี้ยงที่ยิ่งใหญ่สมกับเป็น โอกาสส� ำคัญ ค� ำว่า “ตั้งโต๊ะเรียง” บอกลักษณะการจัดโต๊ะอาหาร อาจจะเป็นแบบโต๊ะฝรั่งหรือ โต๊ะจีนก็ได้ พวกทหารไพร่พลทั้งหลายก็ได้รับพระราชทานเลี้ยงด้วยเช่นกัน ไม่แน่ว่าจะจัดส� ำรับให้เป็น โต๊ะหรือนั่งกับพื้นเป็นวง ๆ ไป “วิเสทท� ำส� ำรับไปเรียงตั้ง เลี้ยงนายทั้งทัพพหลพลขันธ์ พวกพาราการะเวกโหยกเหยกครัน เมาบรั่นเรียกสาวสาวชาวลังกา” (๑๒๖๔) ไม่มีรายละเอียดว่ามีอาหารชนิดใดบ้าง แต่ก็น่าจะคล้ายคลึงกับของเจ้านาย ที่น่าสนใจคือตรงที่ว่า ทหารการะเวก “เมาบรั่น” ซึ่งน่าจะหมายถึง “บรั่นดี” ๙. อาหารที่เป็นเครื่องเซ่นสังเวย ความเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เทวดาอารักษ์ที่ปกปักรักษา สถานที่ใดที่หนึ่ง ผีสางเทวดาเป็นเรื่องธรรมดาส� ำหรับคนไทย จะต้องมีการเซ่นไหว้ บวงสรวงเพื่อขอ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=