สำนักราชบัณฑิตยสภา
137 มาลิ ทั ต พรหมทั ตตเวที วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๕ “ฝ่ายลูกสาวเจ้าลังกาเกณฑ์ฝรั่ง แต่งโต๊ะตั้งเลี้ยงกษัตริย์ล้วนจัดสรร กับข้าวแขกแทรกเนื้อแพะผัดน�้ ำมัน มัสหมั่นข้าวบุหรี่ลู่ตี่โต กับข้าวไทยใส่ต้มส้มแกงต้มขิง นกคั่วปิ้งย� ำมะม่วงด้วงโสน แกงปลาไหลไก่พะแนงแกงเทโพ ผัดปลาแห้งแตงโมฉู่ฉี่มี รมจักรนคเรศวิเสทเจ๊ก ต้มตับเหล็กเกาเหลาเหล้าอาหนี เป็ดไก่ถอดทอดม้าอ้วนแต่ล้วนดี แกงร้อนหมี่หมูต้มเค็มใส่เต็มจาน ตั้งโต๊ะเรียงเลี้ยงวงศ์พงศ์กษัตริย์ สารพัดเหล้าข้าวของคาวหวาน ต่างเสวยเนยนมน�้ ำชัยบาน พนักงานฟ้อนร� ำต่างบ� ำเรอ” (๑๒๖๓-๑๒๖๔) จะเห็นว่าอาหารเป็นแบบนานาชาติ เพราะแขกที่มา ร่วมงานมีหลายชาติศาสนา อาจมีข้อจ� ำกัดในเรื่อง อาหารที่บริโภค เช่น ผู้ที่เป็นมุสลิมจะไม่กินหมู ฝ่าย ลังการับหน้าที่ท� ำอาหารแขก อาหารไทย และอาหาร ฝรั่ง ส่วนวิเสทหรือคนท� ำครัวหลวงชาวจีนจากเมือง รมจักรท� ำอาหารจีน อาหารแขกมี เ นื้อแพะผัดน�้ ำมัน แกงมัสหมั่น ๖ ซึ่งถือเป็นอาหารพิเศษของชาวมุสลิม โดยเฉพาะในงานบุญ เป็นแกงเข้ากะทิ ใส่เครื่องเทศ มากมายหลายอย่าง แกงกับไก่บ้าน มีปลาแห้ง แตงโม อาจาดผักดองเป็นเครื่องเคียง ได้รับอิทธิพลจาก อาหารอินเดียผ่านทางมลายู ปัจจุบันนี้กลายเป็น อาหารไทยที่ชาวต่างชาตินิยมเป็นอันดับหนึ่งไปแล้ว มัสหมั่น อาจมีที่มาจากค� ำว่า Mussulman ซึ่งแปล ว่ามุสลิม คือผู้ที่นับถือศาสนาอิสลาม ข้าวบุหรี่ อาจ ได้ชื่อมาจากค� ำภาษาเปอร์เชีย “kabuli” ซึ่งมาจากชื่อ แกงมัสมั่นเนื้อ Kabul เมืองหลวงของประเทศอัฟกานิสถาน เนื่องจากอาหารจานนี้พวกเปอร์เซียที่เข้ามาสู่ประเทศสยาม ในสมัยอยุธยาเป็นผู้น� ำมาจัดเป็นอาหารประเภท ข้าวหมก ซึ่งเป็นอาหารที่เป็นเอกลักษณ์ในตะวันออกกลาง รวมทั้งชาวมุสลิมในประเทศต่าง ๆ ข้าวหมกของเปอร์เซียมี ๒ ชนิดคือ เชโล ใส่แต่หญ้าฝรั่นกับเครื่องเทศ ๖ ค� ำว่า แกงมัสหมั่น พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ เก็บตัวสะกดว่า มัสมั่น
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=