สำนักราชบัณฑิตยสภา
อาหารการกิ นในวรรณกรรมเรื่ อง พระอภั ยมณี 136 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 37 No. 2 April-June 2012 ตอนที่นางเสาวคนธ์หนีการอภิเษกและปลอมเป็นฤๅษีใช้ชื่อพระอัคนีไม่สบาย เป็นลมและ ไอทุกวัน กินยาอะไรก็ไม่หาย พี่เลี้ยงปรึกษากันว่าพระชันษา ๒๕ พระราหูเสวยอายุ จึงควรลาสิกขาบท และท� ำพิธีสะเดาะเคราะห์ “ค่อยฟื้นองค์สรงเสวยนมเนยหอม หายผ่ายผอมผิวฉวีเป็นสีสัน” (๑๐๓๘) นางจึงท� ำตามและได้กินอาหารบ� ำรุง เช่น นมเนย อาการจึงดีขึ้น ๘. อาหารในงานเลี้ยง ในตอน พระอภัยมณีเข้าเมืองลังกา ท้าวทศวงศ์และพระมเหสีเสด็จมา เยี่ยม พระประยูรญาติทั้งหลายอยู่พร้อมกัน ทางเมืองลังกาจัดพระกระยาหารถวาย “ฝ่ายพ่อครัวหัวป่าก์ ๕ พวกฝรั่ง ต่างแต่งตั้งโต๊ะเหล้าหวานคาวขนม มาเรียบเรียงเคียงตั้งแล้วบังคม ถวายบรมกษัตริย์ขัตติยา ท้าวทศวงศ์องค์พระมเหสี เสวยที่แท่นสุวรรณด้วยหรรษา พระอภัยศรีสุวรรณเป็นหลั่นมา พร้อมบรรดาสุริย์วงศ์เผ่าพงศ์พันธุ์ กับข้าวไข่ไก่พะแนงแกงเป็ดต้ม จอกน�้ ำส้มสายชูจิ้มหมูหัน ช้อนมีดพับส� ำหรับทรงองค์ละคัน เหล้าบรั่นน�้ ำองุ่นเฉียวฉุนดี” (๑๒๔๖) ผู้ที่ท� ำอาหารในโอกาสนี้เป็นพ่อครัวฝรั่งของเมืองลังกา อาหารเป็นแบบที่เคยบรรยายมาแล้ว แต่มี รายละเอียดเรื่องการจัดโต๊ะ คือจัดที่นั่งตามล� ำดับพระเกียรติยศ และนั่งลดหลั่นกันไป มีการใช้ช้อน และใช้มีดในการตัดอาหาร เครื่องดื่มมีน�้ ำองุ่นและบรั่นดี ในตอน อภิเษกหัสไชย เผ่าพงศ์วงศ์กษัตริย์ทั้งสี่เมืองคือ ผลึก ลังกา รมจักร และการะเวก มารวมตัวกันที่เมืองลังกาเพื่อร่วมอวยพรในพิธีแต่งงานระหว่างพระหัสไชยกับนางสร้อยสุวรรณ นางจันทร์สุดา และสุดสาครกับนางเสาวคนธ์ ๕ หัวป่าก์ มีค� ำประกอบคือ ค� ำว่า ป่าก์ มาจาก “ปากะ” ซึ่งเป็นภาษาบาลี หมายถึง “การท� ำอาหารการกิน” เป็นค� ำที่ใช้เรียกผู้ที่เชี่ยวชาญ ในการท� ำอาหารว่า “แม่ครัวหัวป่าก์” หรือ “พ่อครัวหัวป่าก์”
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=