สำนักราชบัณฑิตยสภา

135 มาลิ ทั ต พรหมทั ตตเวที วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๕ ปลากริม จึงได้ถามออกไปอีกว่า เช่นนี้เขาเรียก ขนมปลากริม ขนมไข่เต่า ใช่หรือไม่ อุบาสิกาเนย บอกว่า โบราณใช้ผสมกัน ๒ อย่าง จึงเรียกว่า ขนมแชงมา ถ้าอย่างเดียวเรียก ขนมไข่เต่า ขนม ปลากริม รับประทานคนละครึ่งกัน จึงให้ตักออก มาดู ก็ตักขนมปลากริมลงชามก่อนแล้วตักขนมไข่ เต่าลงทับหน้า เมื่อจะรับประทานเอาช้อนคน รับ ประทานด้วยกัน ได้ความเป็นหลักฐานเพียงเท่านี้” ปัจจุบันขนมชนิดนี้เรียกกันว่า ขนมปลากริม ไข่เต่า รวมกันไปเลย สรุปแล้ว ผู้อ่านท่านใด จะเชื่อว่า ขนมแชงมา คือ ขนมหม้อแกง หรือ ขนมปลากริมไข่เต่า ก็สุดแล้วแต่ท่าน ๗. อาหารคนเจ็บ เมื่อพระอภัยมณีถูกนางละเวงท� ำเสน่ห์และอยู่ที่เมืองลังกากับนาง ศรีสุวรรณ กับสินสมุทรู้ข่าวเข้าไปหา พระอภัยมณีแกล้งท� ำเป็นไม่สบาย สองอาหลานจึงถามพระอาการจากนางละเวง “นางแกล้งยิ้มพริ้มพรายภิปรายตอบ หมอประกอบยากินเข้าดินถนัน ๔ เสวยชอบหอบเหียนอาเจียนนั้น ค่อยผ่อนผันบรรเทาฟื้นดูชื่นบาน เวลาเช้าข้าวตังรังนกเสวย กับนมเนยน�้ ำองุ่นทั้งวุ้นหวาน ลมบรรเทาเข้าบรรทมหลับนมนาน เห็นอาการค่อยเป็นสุขเข้าทุกที” (๗๐๘) นางตอบว่าพระอาการของพระอภัยมณีดีขึ้นมากแล้ว เนื่องจากหมอมาท� ำการรักษา และได้เสวยอาหาร ที่บ� ำรุงร่างกาย ซึ่งเป็นอาหารรสไม่จัดเป็นอาหารเช้า ข้าวตังจะเสวยเปล่า ๆ หรือมีเครื่องประกอบอย่าง ข้าวตังหน้าตั้งก็ไม่ทราบได้ แต่ดูจะไม่เหมาะส� ำหรับคนฟื้นไข้เพราะค่อนข้างแข็ง นอกจากจะท� ำเป็น น�้ ำข้าวตัง การพูดถึงรังนกแสดงว่าคนไทยถือว่ารังนกเป็นอาหารบ� ำรุงร่างกายมานานแล้ว นมเนยก็เป็น อาหารบ� ำรุง มีวุ้นเป็นของหวาน น�้ ำองุ่นนั้น ไม่แน่ใจว่าจะเป็นน�้ ำที่คั้นจากผลองุ่นหรือจะเป็นเหล้าองุ่น ซึ่งมีแอลกอฮอล์ คงไม่เหมาะส� ำหรับคนเจ็บ ที่น่าสนใจคือยาที่หมอปรุงถวายซึ่งเข้าดินถนันด้วย ปลากริมไข่เต่า ๔ ดินถนันคือ ผลไม้วิเศษ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า นมพระธรณี เมื่อถึงพันปีจะผุดขึ้นมาจากดินเกิดเสียงดังราวเสียงปืน มีขนาดเท่าน�้ ำเต้า สีเหลืองทอง เนื้อในเป็นสีแดงชาด รสหอมหวาน เป็นยาอายุวัฒนะ ใครได้กินแล้วผิวพรรณดี อายุยืน นางละเวงวัณฬาได้มาจากกลางป่ากาลวันเมื่อ คราวหนีทัพพระอภัยมณี

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=