สำนักราชบัณฑิตยสภา
อาหารการกิ นในวรรณกรรมเรื่ อง พระอภั ยมณี 134 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 37 No. 2 April-June 2012 “จึงวางองค์ลงบนเปลแล้วเห่ช้า ท� ำขนมแชงม้าเวลาดึก โอละเห่เอละโห่โอละฮึก อึกทึกทั้งศาลาจนราตรี” (๓๗๑) ขนมแชงม้า ที่อยู่ในบทกล่อมสุดสาครของพระโยคีมีที่มาที่น่าสนใจ ชื่อขนมมีเขียนทั้ง แชงม้า แฉ่งม้า และ แชงมา บทกล่อมเด็กโบราณมีความว่า “โอละเห่ โอละหึก ลุกขึ้นแต่ดึกท� ำขนมแฉ่งม้า ผัวก็ตี เมีย ก็ด่า ขนมแฉ่งม้าก็คาหม้อแกง” แต่หน้าตาขนมนี้เป็นอย่างไรเป็นที่ถกเถียงกันมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๔ ถึงรัชกาลที่ ๕ พระองค์เจ้าจรูญโรจน์เรืองศรี พระโอรสในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เคย บันทึกไว้ว่า “ขนมแชงม้า รูปพรรณสีสัน กลิ่นรสของขนมเป็นอย่างไรไม่ทราบ เป็นแต่ชื่อลอยมาอย่างนั้น ถึงมีผู้เฒ่าผู้แก่ก็มิได้เคยพบเคยเห็น ได้ยินแต่เสียงคนทั้งหลายกล่อมเด็กว่า ‘โอละเห่ โอละหึก ลุกขึ้นแต่ดึก ท� ำขนมแชงม้า’ ครั้นเกิดความ ผัวเมียตีกันขึ้น ขนมไม่ทันสุก คาหม้อแกงอยู่ คนทั้งหลายจึงเรียกว่า ขนมหม้อแกง ตั้งแต่นั้นมา” เรื่องนี้ท� ำให้ท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์ ๓ ผู้เชี่ยวชาญอาหารคาวหวานสมัยรัชกาลที่ ๕ และ เป็นผู้แต่งต� ำราอาหารชื่อ แม่ครัวหัวป่าก์ สนใจติดตามเรื่องราวของขนมแชงมา และบันทึกไว้ว่า “ขนมนี้เป็นของโบราณ ได้ยินแต่แม่หญิงกล่อมเด็กต่อ ๆ กันมาดังข้างบนนี้ จะเป็นอย่างใด ท� ำด้วยอะไร ไต่ถามผู้หลักผู้ใหญ่มามากแล้ว ก็ไม่ได้ความชัดเจนลงได้ คนหนึ่งก็ว่า คือขนมนั้นบ้าง นี้บ้าง แต่ว่าเป็น ขนมไข่เต่า นั่นเอง ที่ว่าเช่นนี้ ถูกกันสามสี่ปากแล้ว เวลาวันหนึ่ง อุบาสิกาเนย วัดอมรินทร์ ได้ท� ำขนมมาให้ วางลงถาดมาสองหม้อแกง ได้ถามว่าอะไร อุบาสิกาเนยบอกว่า ขนมแชงมา เป็นขนม โบราณ ท� ำมาเพื่อจะเลี้ยงคนที่อยู่ในบ้าน จึงได้ตักออกมาดู หม้อหนึ่งเป็น ขนมไข่เต่า อีกหม้อเป็น ขนม ๓ ท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์ คือ ภริยาเจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค) เสนาบดีกระทรวงธรรมการคนแรกในสมัยรัชกาลที่ ๕ เมื่อ เกิดวิกฤตการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ ฝรั่งเศสส่งเรือรบมาปิดปากอ่าวไทย เพื่อรักษาอธิปไตยของประเทศ ฝ่ายไทยต้องสู้รบกับฝรั่งเศส ท� ำให้มี ทหารบาดเจ็บและตายจ� ำนวนมาก ท่านผู้หญิงเปลี่ยนฯ จึงคิดจัดตั้งองค์กรการกุศลขึ้นเพื่อช่วยรักษาทหารที่บาดเจ็บจากการสู้รบ โดย ไม่ค� ำนึงว่าจะเป็นทหารฝ่ายใด ทั้งนี้ โดยได้รับแนวความคิดมาจากสภากาชาดที่นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ท่านผู้หญิงเปลี่ยนฯ ได้น� ำความกราบบังคมทูลสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ขณะทรงด� ำรงพระอิสริยยศเป็น สมเด็จ พระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี เพื่อขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งก็ได้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดตั้งขึ้นได้ โดยมีประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๓๖ และทรง รับเป็น ทานมยูอุปถัมภก์ คือผู้บ� ำรุงการอย่างสูงสุด กับพระราชทานเงินพระคลังข้างที่เป็นทุนประเดิม ๘๐,๐๐๐ บาท เดิมเรียกว่า “สภา อุณาโลมแดงแห่งชาติสยาม” มีสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ขณะทรงด� ำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จ พระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระวรราชเทวี ทรงเป็น สภานายิกา พระองค์แรก สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี ทรงเป็น สภาชนนี และ ท่านผู้หญิงเปลี่ยนฯ เป็น เลขานุการิณี “สภาอุณาโลมแดงแห่งชาติสยาม” ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น “สภากาชาดสยาม” และ เมื่อประเทศไทยเปลี่ยนชื่อประเทศจาก “สยาม” เป็น “ไทย” สภากาชาดสยามก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “สภากาชาดไทย” มาจนถึงทุกวันนี้
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=