สำนักราชบัณฑิตยสภา

อาหารการกิ นในวรรณกรรมเรื่ อง พระอภั ยมณี 128 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 37 No. 2 April-June 2012 “พระชุบเลี้ยงเป็นบุตรสุดถนอม เจ้าประคุณทูลกระหม่อมของลูกเอ๋ย จะอยู่ดงพงไพรพระไม่เคย เคยเสวยโต๊ะทองของโอชา จะไปฉันมันเผือกผลาผล จะร้อนรนทนล� ำบากยากหนักหนา จะเผือดผิวหิวโหยร่วงโรยรา จะไสยาอยู่กับพระธรณี ข้าทั้งสามจะขอตามเสด็จด้วย จนมอดม้วยเหมือนหมายไม่หน่ายหนี ขอบวชบ้างอย่างเช่นพระเป็นชี อยู่ข้างที่รับใช้เหมือนได้เลย จะเก็บเลือกเผือกมันพรรณลูกไม้ มาปอกให้สามพระองค์ทรงเสวย” (๑๒๗๕) แต่เนื่องจากสามีของพวกนางคือสินสมุทและสุดสาครไม่ยอมให้บวช ทั้งสามจึงได้แต่คอยหาผลไม้เผือกมัน มาให้สามกษัตริย์ฉัน “ร� ำภาสะหรีลีวันยุพาผกา คุมโยธาฝรั่งอยู่ทั้งพัน เก็บส้มสูกลูกไม้เผือกมันมั่ง ถวายทั้งสามองค์ให้ทรงฉัน” (๑๒๗๙) ๔. อาหารที่เป็นเครื่องเสวย เนื่องจากสินสมุทไม่เคยกินเนื้อสัตว์ กินแต่ผลไม้เป็นประจ� ำ นางสุวรรณมาลีจึงต้องหาของเสวยมาป้อนให้ลองชิม “ทรามสงวนสรวลสันต์จ� ำนรรจา ฟังแม่ว่าเถิดพ่อลองสักสองค� ำ แล้วปั้นข้าวเอาสุกรมาป้อนให้ อร่อยใจจริงเจียวเคี้ยวม�่ ำม�่ ำ กุ้งกับไข่ไก่พะแนงแกงต้มย� ำ กินก็เติบเปิบค� ำล้วนโตโต” (๑๘๑) จะเห็นว่าแม้จะเป็นเครื่องเสวย แต่ก็เป็นอาหารแบบที่ชาวบ้านทั่ว ๆ ไปกินกัน เนื่องจากเป็นอาหารที่ท� ำ บนเรือ จึงไม่อาจหาเครื่องเคราได้ครบถ้วนแบบในวัง สมัยนั้นคนไทยยังกินข้าวด้วยมือแบบไทย ๆ โดย ล้างมือให้สะอาดแล้วใช้ปลายนิ้วทั้ง ๕ หยิบข้าวเข้าปาก ส่วนกับข้าวน่าจะมีช้อนตัก โดยเฉพาะที่ เป็นแกง สินสมุทคงจะติดใจอาหารที่นางสุวรรณมาลีป้อนให้ไม่น้อย และอร่อยกับอาหารมื้อนี้ เพราะกินข้าวจุ แต่ละค� ำก็ค� ำใหญ่ ๆ ไม่ได้มีรายละเอียดว่า หมู กุ้ง และไข่ท� ำเป็นอาหารชนิดใด แต่ไก่พะแนงกับแกง ต้มย� ำนั้นแสดงให้เห็นว่าคนสมัยนั้นกินอาหารรสจัด พะแนง เป็นอาหารไทยประเภทแกงน�้ ำแห้งไม่ใส่ ผงกะหรี่ที่ได้รับอิทธิพลจากอินเดีย มีส่วนผสมหลักของเครื่องแกงคือ พริก ข่า ตะไคร้ รากผักชี เมล็ดผักชี เมล็ดยี่หร่า กระเทียม และเกลือ ไก่พะแนง ท� ำโดยน� ำไก่ทั้งตัวมาขัดขากันใส่ในหม้อใบใหญ่ ใส่เครื่องแกง แขก คือเข้าเครื่องเทศแบบแกงมุสลิม คั่วไปจนน�้ ำขลุกขลิกเหมือนอาหารอินเดียมุสลิมอื่น ๆ ส่วน ต้มย� ำ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=