สำนักราชบัณฑิตยสภา
127 มาลิ ทั ต พรหมทั ตตเวที วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๕ ที่ผ่านกรรมวิธีต่าง ๆ ไปแช่ในน�้ ำตาลหรือน�้ ำเชื่อม จนน�้ ำตาลตกผลึกจับเป็นเกล็ด ลูกพลับ ไม่ใช่ผลไม้ เมืองไทย น่าจะเป็นพลับจากเมืองจีนในรูปของพลับแห้งที่กดเป็นแผ่นแบน ๆ มีน�้ ำตาลเป็นผงละเอียด สีขาวโรย สมัยนั้นยังไม่มีกล่องพลาสติกใส่อาหาร นอกเหนือจากใบตองแล้ว ภาชนะที่สะดวกส� ำหรับ ใส่อาหารน� ำติดตัวไปก็คือปิ่นโตนั่นเอง ๓. อาหารนักบวช พระฤๅษีที่เกาะแก้วพิศดารบวชมากว่าพันปีแล้ว เนื่องจากถือศีลห้า ไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิตจึงฉันแต่ผลไม้ “อันพวงผลผลาสารพัด ไม่ขาดขัดที่ในเกาะพอเสาะฉัน เดชะฤทธิ์กิจกรมพรหมจรรย์ สารพันโพยภัยมิได้พาน” (๑๗๔) เมื่อพระอภัยมณีกับสินสมุทมาอยู่ที่เกาะและขอบวชเป็นฤๅษีด้วย จึงฉันอาหารของนักบวชเช่นกัน พวกแขกฝรั่งเรือแตกที่เป็นลูกศิษย์ของพระฤๅษีนับถือพระอภัยมณีเป็นเจ้านาย ได้จัดหาอาหารมาให้ พระองค์และสินสมุทฉัน ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นผลไม้หรือเผือกมันที่ได้จากในป่า รวมทั้งน�้ ำผึ้งจากธรรมชาติด้วย “แล้วรีบรัดจัดแจงแต่งส� ำรับ น�้ ำผึ้งกับมันเผือกล้วนเลือกสรร ทั้งกล้วยอ้อยน้อยหน่าสารพัน ประเคนสองนักธรรม์ฉันส� ำราญ” (๑๘๓) เมื่อนางสุวรรณมาลีพาสินสมุทไปที่เรือของท้าวสิลราช นางให้สาวใช้จัดเครื่องเสวยมาให้ แต่สินสมุทเคย กินแต่ผลไม้ที่แม่ผีเสื้อหาให้ เมื่อบวชอยู่ที่เกาะแก้วพิศดารก็ฉันแต่ผลไม้เผือกมัน จึงกินไม่เป็น แม้แต่ปลา ยังเหม็นคาว “แล้วนางพามานั่งบัลลังก์รัตน์ ให้สาวใช้ไปจัดเครื่องเสวย ยกมาตั้งทั้งขนมแลนมเนย กุมาราว่าไม่เคยกินข้าวปลา เคยกินแต่เผือกมันผลไม้ เช่นนี้ไม่เคยเห็นเหม็นมัจฉา” (๑๘๑) จะเห็นว่ามีของล่อใจเด็ก คือ ขนมนมเนย ด้วย นมและเนยนั้นแสดงให้เห็นว่ามีการติดต่อกับชาติตะวันตก หรือฝรั่ง เพราะไม่ใช่อาหารที่คนไทยกินเป็นประจ� ำ ส่วนจะเป็นนมเนยที่ได้มาจากวัวหรือแพะก็ไม่ปรากฏ แน่ชัด ถ้าเป็นนมแพะก็อาจได้รับอิทธิพลมาจากอินเดียหรือชนชาติที่เป็นมุสลิม ตอนท้ายเรื่องเมื่อครั้งที่พระอภัยมณีจะออกบวช นางสุวรรณมาลีและนางละเวงวัณฬา ได้รับ อนุญาตให้ตามไปบวชเป็นชีด้วย นางฝรั่งทั้งสามคือร� ำภาสะหรี ยุพาผกา และสุลาลีวันคิดจะตามไป ปรนนิบัตินางละเวงวัณฬาด้วยส� ำนึกในพระคุณที่นางได้ชุบเลี้ยงมา
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=