สำนักราชบัณฑิตยสภา
125 มาลิ ทั ต พรหมทั ตตเวที วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๕ ของผู้สวมใส่ด้วย เรื่อง พระอภัยมณี ของ สุนทรภู่ ก็หนักไปในทางบรรยายการแต่งตัวเช่นกัน แต่ในขณะ เดียวกันก็มีการบรรยายเรื่องอาหารการกินด้วย แม้จะเป็นส่วนน้อยแต่มีประเด็นที่น่าสนใจ ดังต่อไปนี้ ๑. อาหารหลัก ชนชาวไทย เช่นเดียวกับอีกหลาย ๆ ชาติในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กินข้าวเป็นอาหารหลัก จะแตกต่างกันบ้างตรงชนิดของข้าวเท่านั้นว่าจะเป็นข้าวเจ้า ข้าวเหนียว ข้าวสาลี หรือข้าวอื่น ๆ ดังนั้น เวลาเดินทางโดยเฉพาะการเดินทางที่ต้องใช้เวลานานเช่นการเดินทางทางทะเล จึงต้องเตรียมเสบียงอาหาร ซึ่งมักเป็นของแห้งหรือเครื่องปรุงที่เก็บไว้กินได้นาน ได้แก่ ข้าวสาร เกลือ น�้ ำตาล หรือสิ่งที่จะให้ความหวานในรูปของอ้อยและตาล น�้ ำจืด ในตอนที่ท้าวสิลราช เจ้าเมืองผลึก พระบิดาของนางสุวรรณมาลีจะพานางไปเที่ยวชมทะเล พระนางมณฑาผู้เป็นมเหสีก็สั่งให้อ� ำมาตย์ ไปจัดเตรียมเสบียง ส่วนกับข้าวอาจหาได้ตามทาง เช่น ปลาในทะเล “ขุนนางพร้อมน้อมค� ำนับนางกษัตริย์ มารีบรัดเร่งคนขนอาหาร ใส่เภตราห้าร้อยทั้งอ้อยตาล เกลือข้าวสารน�้ ำท่าสารพัน” (๑๖๘) ส่วนที่เกาะแก้วพิศดาร เมื่อพระอภัยมณีหนีผีเสื้อสมุทรไปอาศัยอยู่กับพระฤๅษี ภายหลัง จะลากลับไปพร้อมกับเรือท้าวสิลราชและนางสุวรรณมาลี ท้าวสิลราชต้องการเสบียง พระฤๅษีจึงบอกว่า มีธัญพืชประเภทข้าวขึ้นอยู่อุดมสมบูรณ์บนเกาะแก้วพิศดาร “อันเกาะแก้วพิศดารสถานนี้ โภชนาสาลีก็มีถม แต่คราวหลังครั้งสมุทรโคดม มาสร้างสมสิกขาสมาทาน เธอท� ำไร่ไว้ที่ริมภูเขาหลวง ครั้นแตกรวงออกมาเล่าเป็นข้าวสาร ได้สืบพืชยืดอยู่แต่บูราณ จงคิดอ่านเอาเคียวมาเกี่ยวไป” (๑๗๙) “โยคีให้ตีเคียวไปเกี่ยวข้าว สานกระเช้าให้ทุกคนขนข้าวสาร กลางคงคาสารพันจะกันดาร จงคิดอ่านเอาเสบียงไปเลี้ยงกาย” (๑๗๙) “ถึงที่กว้างว่างหว่างเวิ้งในเชิงเขา เห็นรวงข้าวขาวค้อมหอมนักหนา ไม่เคยเห็นเป็นข้าวสารทั้งลานนา กษัตราชมเพลินด� ำเนินพลาง ถึงธารน�้ ำล� ำเนาภูเขาโขด มีข้าวโพดข้าวเจ้าแลข้าวฟ่าง ทั้งข้าวเหนียวเขียวขาวข้าวหางช้าง ๑ แลต่างต่างตละไร่สุดสายตา” (๑๘๓) ๑ ข้าวหางช้าง : ข้าวสมุทรโคดม เป็นชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่ง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=