สำนักราชบัณฑิตยสภา
ค� ำคล้ายในภาษาไทยและภาษาไท 8 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 37 No. 2 April-June 2012 เป็นเรื่องน่าคิดว่าค� ำในภาษาไทยจะเกิดมีค� ำใช้ขึ้นมาก ก็ด้วยแปลงเสียงของค� ำใด ค� ำหนึ่งเป็นตัวตั้ง แล้วแจกลูกออกไป ( บันทึกเรื่องความรู้ต่าง ๆ เล่ม ๕ หน้า ๘๗) ตามหลักในนิรุกติศาสตร์ที่ว่า ความหมายคล้ายคลึงกัน ย่อมท� ำให้รูปเสียง คล้ายคลึงกัน เพราะการที่จะคิดหาค� ำให้แก่ความหมายใหม่ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน กับค� ำที่มีอยู่แล้วสะดวกที่สุดก็คือ ใช้แปลงเสียงค� ำที่มีอยู่แล้วดีกว่าคิดท� ำขึ้นใหม่ เช่น ค� ำว่า กอม ค่อม ค้อม ก้ม นบ ค� ำนับ นอบน้อม ยอบ ยอม ระยอบ พินอบ เจ่า เฉา เชา เศร้า แจก แฉก แซก แสก แยก แตก ( บันทึกเรื่องความรู้ต่าง ๆ เล่ม ๓ หน้า ๓๐๒) เมื่อมานึกถึงค� ำไทย เราก็มีวิธีในภาษาของเราต่างหาก ส� ำหรับแปลงเสียงค� ำให้มี ความหมายแตกต่างออกไป แต่เราไม่ใช้วิธีควบค� ำ เราใช้แปลงเสียงพยัญชนะและเสียง สระอยู่ในตัวของมันเอง เช่น กง เราก็มี ก่ง (คิ้วก่ง ก่งศร) กุ้ง (สัตว์มีหลังโค้ง) โง้ง โก้งโค้ง โก้ง (เก้ง) โกก (เกก) โงก (เงก) งก (งัน) โคลง (เคลง) ค� ำเหล่านี้มีเสียงสระอยู่ในพวก สระหลัง ซึ่งเวลาออกเสียงต้องห่อปากทั้งนั้น ส่วนเสียงพยัญชนะก็อยู่ในวรรค ก ทั้งหมด ความหมายของแต่ละค� ำก็เป็นเรื่องไม่มีตั้งตรง เป็นคด ๆ งอ ๆ ทั้งนั้น ( “ความคลี่คลายของค� ำไทย” หน้า ๖๐) พ.นววรรณ เขียนเรื่อง “เสียงสื่อความหมาย” ลงพิมพ์ใน นิตยสารสตรีสาร และต่อมา ปรากฏในหนังสือ การใช้ภาษา ความตอนหนึ่งว่า ในภาษาไทย มีค� ำอยู่หลายค� ำที่มีลักษณะแปลก คือ เสียงที่ประกอบขึ้นเป็นค� ำนั้น สัมพันธ์กับความหมายของค� ำด้วย เสียงที่ให้ความหมายนี้ มีหลายเสียงด้วยกัน เช่น ค� ำที่มีเสียงสระ ออ มี ม สะกด มักจะใช้แทนสิ่งที่กลม ๆ เป็นวงหรือคู้เข้าหากัน เช่น เด็กตัว ป้อม เดิน น้อม ตัว ค้อม หัว อ้อม เก้าอี้ที่ ล้อม ไว้เป็นวง เสียง เอ จะท� ำให้เกิดค� ำที่มีความหมายว่า ไม่ตรง เช่น คนตา เข ฟัน เก ข าเป๋ เดิน เซ เห ไปหา บ้าน โย้เย้ เสียง แอะ มีความหมายไปในทางท� ำให้หลุดออก แยกออก เช่น ช� ำแหละ ศพ แบะ อก แหวะ ท้อง แกะ กระดุม แคะ เล็บ แงะ ตะปู แซะ ขนมเบื้อง เสียง อา มี บ สะกด จะท� ำให้เกิดค� ำที่มีความหมายว่า ซ้อนทับกัน เช่น กาบ กล้วย ฉาบ น�้ ำตาล ทาบ ผ้า เอาเตา นาบ สาบ เสื้อ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=