สำนักราชบัณฑิตยสภา

ตรุษจี น 118 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 37 No. 2 April-June 2012 ทางเหนือของจีน อากาศจะหนาวเย็นมากในช่วงตรุษจีน ทุกบ้านในสมัยก่อนต้องมีเตาผิงไฟ จุดไฟเพื่อให้ความอบอุ่นในบ้าน เกี๊ยวที่ห่อไว้มากมายในค�่ ำวันส่งท้ายปีนั้น เมื่อมีเหลือก็น� ำไปเรียงวาง แปะไว้กับหม้อกระทะบนเตาผิงไฟให้อุ่นไว้ ใครหิวก็หยิบรับประทานได้ เกี๊ยวที่น� ำไปผิงไฟไว้นี้จะเกรียม ด้านเดียว เรียกว่า 锅贴 guōtiē = แปะไว้บนหม้อ/กระทะ ซึ่งก็คือที่มาของอาหารญี่ปุ่นที่พวกเรา รู้จักกันดีที่เรียกว่า เกี๊ยวซ่า การท� ำเกี๊ยวซ่า จึงทอดเกรียมเพียงด้านเดียวเหมือน 锅贴 ของจีน ที่จริงแล้ว ค� ำเกี๊ยวซ่า เป็นการออกเสียงแบบญี่ปุ่นของค� ำว่า 饺子 jiǎozi นั่นเอง อาหารมื้อส่งท้ายปีเก่าของชาวจีน จะต้องมีปลาที่นึ่งมาทั้งตัว เพราะค� ำ 鱼 yú ที่แปลว่า ปลา พ้องเสียงกับค� ำว่า 余 yú ที่แปลว่า เหลือ มีเหลือ ปลาจึงเป็นเหมือนสัญลักษณ์ว่า 年年有余 niánnián yǒu yú มีเหลือกินเหลือใช้ทุกปี นอกจากปลาแล้ว ยังต้องมี 火锅 huǒguō = หม้อไฟ เวลาน�้ ำแกงในหม้อไฟเดือด จะให้ความ รู้สึกว่า ทุกอย่างก� ำลัง 红红火火 hónghónghuohuo = เจริญรุ่งเรือง งอกงามเฟื่องฟู และต้องมี ขนมหัวผักกาดที่ท� ำด้วย 萝卜 luóbō ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า 菜头 càitóu = หัวผักกาด/หัวไชเท้า เนื่องจากเสียงของค� ำนี้ท� ำให้นึกเชื่อมโยงไปถึงค� ำ 彩头 cǎitóu ที่มีเสียงใกล้เคียงกัน ค� ำ 彩头 มีความ หมายว่า นิมิตหมายที่ดี จึงเหมือนเป็นการอวยพรให้มี 好彩头 hǎo cǎitóu อันเป็นการเริ่มต้นปีใหม่ที่ดี อาหารที่ขาดไม่ได้อีกอย่างหนึ่งในมื้อส่งท้ายปีเก่า คือ หมี่สีเหลืองที่เป็นมัดยาว ๆ ที่เรียกว่า 长面 chángmiàn หรือเรียกว่า 长寿面 chángshòumiàn เวลาน� ำมาประกอบอาหาร ห้ามตัดสั้น ๆ ต้อง คงให้เป็นหมี่เส้นยาว ๆ ไว้ เพราะหมี่เส้นยาว ๆ เป็นการอวยพรให้มีอายุยืนยาวเป็นร้อย ๆ ปี ในการประกอบอาหาร มักจะต้องมีสาหร่ายเส้นผม 发菜 fàcài และต้นหอม 葱 cōng เพราะค� ำสาหร่ายเส้นผมพ้องเสียงกับค� ำ 发财 fācái = ร�่ ำรวยยิ่งขึ้น ส่วนค� ำต้นหอมพ้องเสียงกับ 聪 ในค� ำ 聪明 cōngmíng = ฉลาด เป็นความหมายอุปมาว่า อาหารมื้อนี้รับประทานแล้วจะมีความฉลาด และจะมีความเจริญรุ่งเรือง ร�่ ำรวยยิ่งขึ้น สุดท้ายต้องมีอาหารหวานหนึ่งอย่างเป็นการอวยพรให้วันเวลานับจากนี้ (คืนส่งท้ายปีเก่า) ไปมี แต่ความหวานชื่น ความสุขและสิ่งดีงาม สิ่งที่นิยมน� ำมาท� ำเป็นอาหารหวานมักเป็นพุทราแดงและเม็ดบัว เพราะสีแดงเป็นสีมงคล ๔ ส่วนเม็ดบัว 莲子 liánzi มีเสียงที่เชื่อมโยงไปถึงค� ำซึ่งมีความหมายว่ามีลูก หลานสืบทอดต่อ ๆ กันไป ๔ ชาวจีนใช้สีแดงเป็นสัญลักษณ์สื่อความหมายของงานมงคล การเฉลิมฉลอง ความคึกคัก ความอบอุ่น และความรุ่งเรือง เพราะชาวจีน นึกคิดและเชื่อมโยงสีแดงไปถึงสีของดวงอาทิตย์และไฟ เมื่อดวงอาทิตย์และไฟน� ำมาซึ่งแสงสว่าง ความอบอุ่น ตลอดจนความสุข ดังนั้น ใน งานมงคลและงานเฉลิมฉลองต่าง ๆ จึงใช้สีแดงแสดงถึงความปีติยินดี ความสุข และความเป็นมงคล (นริศ วศินานนท์ ๒๕๕๑ : ๑๗๓-๑๗๔)

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=