สำนักราชบัณฑิตยสภา

117 ประพิ ณ มโนมั ยวิ บูลย์ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๕ มื้อส่งท้ายปีเก่านี้เรียกว่า 年夜饭 niányèfàn อาหารที่ ส� ำคัญที่สุดในมื้อนี้ คือ 饺子 jiǎozi = เกี๊ยว เพราะค� ำว่า 饺 มี เสียงพ้องใกล้เคียงกับค� ำ 交 jiāo ที่มีความหมายว่า มาอยู่ด้วยกัน เป็นการสื่อเชิงสัญลักษณ์ว่า สมาชิกในครอบครัวได้กลับมาอยู่ พร้อมหน้าพร้อมตากัน นอกจากนี้ การห่อเกี๊ยวของชาวจีนโดยเฉพาะ ทางภาคเหนือของจีนนั้นเป็นประเพณีนิยมในเทศกาลตรุษจีน เพราะ ชาวจีนทางเหนือเห็นว่า เกี๊ยวที่ท� ำด้วยแป้งหมี่สีขาว มีรูปลักษณ์คล้าย 银元宝 yínyuánbǎo = เงินแท่งโบราณของจีน เงินแท่งหรือทอง แท่งโบราณของจีนที่ใช้เป็นเงินตราในสมัยก่อนมีลักษณะดังนี้ ตรุษจีนหลายวัน ครั้นถึงค�่ ำวันส่งท้ายปีเก่าที่จะท� ำเกี๊ยว แม่บ้านจะกราบไหว้เทพแห่งเตาไฟ แล้วน� ำห่อ กระดาษแดงนี้มาแกะออกเพื่อเอาเหรียญกษาปณ์ไปห่อไว้ในเกี๊ยว ขณะที่รับประทานเกี๊ยวมื้อส่งท้าย ปีเก่าพร้อมกัน ใครรับประทานเจอเกี๊ยวที่มีเหรียญกษาปณ์อยู่ในไส้ก็หมายความว่า จะโชคดีมีสุขสม ปรารถนาตลอดปีใหม่ การห่อเกี๊ยวส� ำหรับมื้อส่งท้ายปีเก่าเป็นกิจกรรมที่สมาชิกทุกคนในครอบครัวต้องช่วยกันลงมือ ท� ำด้วยกัน แม้แต่เด็กทารกที่ยังห่อไม่เป็น ก็ต้องให้จับมือเด็กไปแตะ ๆ แป้งกับไส้พอเป็นพิธีเป็นการ แสดงว่าทั้งครอบครัวจะกลมเกลียวปรองดองกัน รักและสนิทสนมกัน ระหว่างที่รับประทานเกี๊ยวด้วยกัน หัวหน้าครอบครัวจะเล่านิทานสุภาษิตตามเรื่องราวในภาพ ชุดฉลองตรุษจีนที่น� ำมาปิดไว้ตรงผนัง ชาวจีนเชื่อกันว่า การฟังนิทานสอนใจ นิทานสุภาษิตระหว่างรับ ประทานเกี๊ยวในคืนวันส่งท้ายปีเก่า จะท� ำให้จดจ� ำได้แม่นย� ำ และจะเป็นคนดีในอนาคต www.299.com.cn เงินแท่งโบราณ www.baidu.com เกี๊ยว เกี๊ยวของจีนเมื่อห่อแล้วจะแลดูคล้าย yuánbǎo มาก ดังนั้น การท� ำเกี๊ยวแล้วยกเป็นจานพูน ๆ มาตั้งโต๊ะทีละจาน ๆ จึงเป็น สัญลักษณ์ว่า ปีใหม่จะร�่ ำรวยใหญ่ เงินแท่งจะไหลหลั่งมา เกี๊ยวที่ท� ำรับประทานกันในวันส่งท้ายปีเก่านั้น จะท� ำกัน เป็นพิเศษ ในสมัยก่อนแม่บ้านต้องเตรียมแป้งกับไส้ส� ำหรับการท� ำ เกี๊ยวไว้ล่วงหน้า ที่พิเศษอีกอย่างหนึ่งก็คือ แม่บ้านจะน� ำเหรียญ กษาปณ์มาขัดล้างจนสะอาดหมดจดเหรียญหนึ่ง แล้วห่อด้วยกระดาษ สีแดง น� ำไปตั้งบนแท่นบูชาตรงเทพแห่งเตาไฟก่อนหน้าจะถึงวัน

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=