สำนักราชบัณฑิตยสภา

7 นววรรณ พั นธุเมธา วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๕ ถ้าเอาค� ำต่อไปนี้เข้าเทียบ จะปรากฏว่ามีความหมายเป็นเรื่องไม่นิ่งอยู่กับที่ทั้ง นั้น เช่น โงกเงก โงงเงง โดกเดก โตงเตง โทกเทก โทงเทง โยกเยก โย่งเย่ง เหล่านี้ ล้วน เป็นค� ำ มีสระ โอ-เอ ในระดับเดียวกัน (mid, high vowels) เป็นพวกเดียวกับ โกกเกก โก้งเก้ง ดั่งกล่าวมาข้างต้น ( “เรื่องค� ำคู่ในภาษาไทย” หน้า ๑๒๘) อนึ่งค� ำที่ขึ้นต้นด้วย ก หรือ ค และมี ล กล�้ ำ ก็มีอยู่มากค� ำ ซึ่งมีความหมายว่า ไม่อยู่นิ่ง ไม่อยู่ที่ ไม่แน่นอน เช่น กล้อ กลอก กล้องแกล้ง กล้า กล่อม เกลี้ยง กลิ้ง เกลือก คล่องแคล่ว คลอนแคลน คลายเคลื่อน คล่าว คลิด เคลื่อน คลี่คลาย โคลงเคลงคลางแคลง เคลิบเคลิ้ม คลาไคล คลาด คลาน เป็นต้น ( “เรื่องค� ำคู่ในภาษาไทย” หน้า ๑๒๘-๑๒๙) ค� ำที่ขึ้นต้นด้วย ง นี้แปลก ล้วนมีความหมายว่า งอ หรือไม่ตรงแทบทั้งนั้น เช่น งก งง งวง ง่วง งวย งอ ง้องอน งอกแงก ง่องแง่ง งอแง งอน ง่อนแง่น งอนหง่อ งอบ ง้อม งอย ง่อย งัก ๆ งัง ๆ งั่ง งัด งันงก งัวเงีย ง่า ง้าง ง่าน งามงอน ง่าม ง้าม ง�้ ำ งึก ๆ เงิน (พดด้วง) งุนงง งุ้ม งุ่มง่าม งุย งู งูบ เงย เงอะ เง่า เง้างอด เงี้ยว เงื้อ เงือกงู เงื่อง เงื่อน เงื้อม แง่ แง่ง โง โงเง โง่เง่า โงกโงง โง่ง โง้ง โงนเงน หงก ๆ หงัก ๆ หงัง ๆ หงิก หงึก ๆ หงุบหงับ และ (ตัว) เหงา ซึ่งอาจเพี้ยนเป็นตัว โง่ ของภาคอีสาน ซึ่งหมายถึง รูปโค้ง ๆ อย่างตัวเหงาก็ได้ เหงา เป็นชื่อเรียกลายกนกตัวแรก ( “เรื่องค� ำคู่ในภาษาไทย” หน้า ๑๒๙-๑๓๐) สาเหตุที่มีค� ำคล้ายในภาษาไทย พระยาอนุมานราชธนสันนิษฐานว่า เดิมค� ำเหล่านี้เป็นค� ำเดียวกัน แต่เปลี่ยนเสียง สระ พยัญชนะ หรือวรรณยุกต์ เพื่อให้มีความหมายต่างออกไป ดังท่านเขียนว่า ค� ำซึ่งมีเสียงคล้ายคลึงกัน ความหมายก็ย่อมใกล้กัน ส่วนมากเนื่องมาแต่ค� ำใดค� ำ หนึ่งก่อน แล้วแปลงเสียงค� ำนั้นให้เพี้ยนออกไป เพื่อให้มีค� ำงอกขึ้นส� ำหรับใช้กับสิ่งซึ่งมี ความหมายในลักษณะเดียวกัน ( บันทึกเรื่องความรู้ต่าง ๆ เล่ม ๕ หน้า ๘๗) พระยาอนุมานราชธนคิดว่าการแปลงเสียงของค� ำเช่นนี้เป็นวิธีของไทย ที่จะท� ำให้มีค� ำใช้ มากขึ้น ท่านกล่าวว่า

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=