สำนักราชบัณฑิตยสภา

ค� ำคล้ายในภาษาไทยและภาษาไท 6 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 37 No. 2 April-June 2012 มีค� ำอยู่หลายค� ำคือ ฝา ฝ่า ฝ้า ฟ้า ผ้า ซึ่งมีเสียงใกล้กัน และความหมายก็ไป ในทางเดียวกัน เป็นเรื่องกั้นเรื่องบังทั้งนั้น ( บันทึกเรื่องความรู้ต่าง ๆ เล่ม ๕ หน้า ๘๖) ในภาษาใช้ค� ำโดดอย่างภาษาจีน ภาษาไทย มีค� ำพวกที่เสียงและความหมาย คล้ายคลึงกันอยู่มาก เช่น อิ่ม เอม เอือม หย� ำ หน� ำ หรือค� ำในพวกติดกั้น เช่น กัน คัน กั้น ดังที่ทรงสันนิษฐานมาแล้ว ข้าพระพุทธเจ้าเคยเก็บค� ำที่ขึ้นต้นด้วยเสียง ง พบแต่ ค� ำที่มีความหมายไม่ตรงทั้งนั้น เช่น งอ โงเง งู งอน โง้ง เป็นต้น ค� ำที่มีสระเอก็เช่น เดียวกัน เป็น เก เข เค้ เหล่ เย้ รวนเร เป็นต้น ( บันทึกเรื่องความรู้ต่าง ๆ เล่ม ๕ หน้า ๘๗) เมื่อได้จับเอาค� ำต่าง ๆ ที่มีเสียงและความหมายใกล้กันมาเปรียบเทียบกันดู ก็น่า ปลาด เช่น ไหล ไถล ก็เป็นกิริยาที่เลื่อนลงมา กะได ไถ ไต่ ไหล่เขา ก็เป็นค� ำพวกเดียวกัน ถ้าออกเสียง แบน ให้ขึ้นนาสิกค้างก็เป็น แบ แผ่น ก็เป็น แผ่ เปลี่ยนแม่ กน ให้เป็นแม่ กด ก็มี แป็ดแป๋ เทียบได้กับค� ำว่า แบนแบ ( บันทึกเรื่องความรู้ต่าง ๆ เล่ม ๕ หน้า ๑๕๓) ในบทความชื่อ “เรื่องค� ำคู่ในภาษาไทย” พระยาอนุมานราชธนก็ตั้งข้อสังเกตไว้ เช่น กักกั้ง มีค� ำอยู่ในพวกเดียวอีกหลายค� ำ เช่น คลัก (อย่างปลาตกคลัก จะหนีออกไปก็ ไม่ได้) ขัง (เขมรก็มีใช้แต่จะเห็นเอาไปจากไทยแน่) คั่ง ค้าง คลั่ง (ตกอยู่ในที่อัดอั้น ออก ไม่ได้จึงคลั่ง) พิจารณาค� ำเหล่านี้ดูจะเป็นพวกค� ำที่มีความหมายไปในทางติดกั้น พยายาม จะดันออกไปทั้งนั้น (dynamic) ผิดกับพวกกัน กั้น คัน คั่น ขั้น ซึ่งมีความหมายว่าอยู่ที่ ไม่มีสิ่งที่ในนั้นถูกติดกั้นและพยายามจะออก (static) (ดูกัด-กัน) ( “เรื่องค� ำคู่ในภาษาไทย” หน้า ๑๒๐) ข้อแปลกอีกอย่างหนึ่งก็ที่ค� ำหรือพยางค์ที่มีสระ เอ ผสมอยู่ ล้วนมีความว่า ไม่ตรง หรือโค้งทั้งนั้น เช่น ขาเก ตาเข ล้มเค้เก้ งัวเขาเกก คนตาเอก ยังมีอีกมากค� ำ คิดหา เอาเองก็ได้ ( “เรื่องค� ำคู่ในภาษาไทย” หน้า ๑๒๔)

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=