สำนักราชบัณฑิตยสภา

อ็ องเดร มาลโร กั บโลกศิ ลปะ 104 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 37 No. 2 April-June 2012 วัฒนธรรมและขนบประเพณีเก่า ๆ ก็ชี้ให้เห็นถึงความปรารถนาในความเป็นอมตะนี้ของมนุษย์ เช่นกัน ในนวนิยายเรื่อง Les Noyers de l’Altenburg อ็องเดร มาลโร เขียนไว้ในตอนหนึ่งว่า ความคิด เรื่องท� ำมัมมี่ในอียิปต์โบราณก็เกิดมาจากความปรารถนานี้เช่นกัน งานเก็บมัมมี่ของชาวอียิปต์จึงเป็น งานที่ซับซ้อน ต่อมาชาวอียิปต์โบราณตั้งข้อสังเกตว่าสิ่งที่ทนทานต่อลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศ ของประเทศนั้น คือ หินบะซอลต์ จึงเกิดประเพณีสลักหินรูปปั้นคนตายคู่ไปกับการเก็บมัมมี่ (Malraux 1948: 137) อย่างไรก็ตาม ศิลปะลักษณะดังกล่าวแสดงถึงความเชื่อของชาวอียิปต์ในภพหน้า แต่ต่อมา ศิลปินแนวมนุษยนิยมมองเห็นว่า ภพหน้าไม่ใช่ของมนุษย์อีกต่อไปแล้ว พวกเขาคิดว่าร่างกายของมนุษย์ ไม่อาจเป็นอมตะได้ มนุษย์จะเป็นอมตะได้ก็จากผลงานของเขาเองเท่านั้น “ผลงานที่สามารถด� ำรงอยู่ได้ ในความคิด ความนิยม ของชนรุ่นหลัง เมื่อชีวิตของผู้สร้างหาไม่แล้วนั้นก็คือ ‘ผลงานศิลปะ’ ” (Malraux 1957: 32) ด้วยเหตุนี้ผลงานศิลปะจึงเป็นสะพานเชื่อมระหว่างชีวิตและความตาย ในทัศนะของ อ็องเดร มาลโร ศิลปะจึงกลายเป็นจุดหมายปลายทางของชีวิตด้วยประการฉะนี้ ผลงานเกี่ยวกับศิลปะของอ็องเดร มาลโร มีความหลากหลายและลึกซึ้ง ฌ็อง-อีฟว์ ตาดีเย (Jean-Yves Tadié) กล่าวไว้ในค� ำน� ำหนังสือรวมผลงานเขียนเกี่ยวกับศิลปะของอ็องเดร มาลโร เล่ม ๑ (Tadié 2004: Préface) ว่า มาลโร ได้รวบรวมความรู้เกี่ยวกับศิลปินที่ยิ่งใหญ่ที่สุดจากทั้ง ๕ ทวีป ความรู้จากการอ่าน และการขบคิดมาเป็นเวลานาน ๔๐ ปี เพื่อเล่าและวิจารณ์ผลงานศิลปะ เพื่อสืบสาน ผลงานเหล่านั้นให้มีชีวิตอยู่ต่อไป และท� ำให้คนรุ่นหลังรักผลงานเหล่านั้น

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=