สำนักราชบัณฑิตยสภา
103 จิ นตนา ด� ำรงค์เลิ ศ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๕ อ็องเดร มาลโร กล่าวว่า ศิลปะสมัยใหม่มีลักษณะเปิดใจกว้าง ยอมรับศิลปะยุคต่าง ๆ จาก แหล่งอารยธรรมที่แตกต่างกัน ศิลปะสมัยใหม่ถือว่าผลงานศิลปะนั้นไม่ว่าจะก� ำเนิดในสมัยใดและที่ใด ย่อมมีภาษาร่วมอันเดียวกัน นั่นคือ “ความเป็นศิลปะ” ด้วยเหตุนี้เมื่อศิลปินสมัยใหม่มองรูปประติมากรรม พระมารดาของพระเยซูคริสต์ เขาจะมองว่านี่คือรูปประติมากรรม ซึ่งเป็นงานชิ้นหนึ่งเสียก่อน แล้วจึงมอง ต่อไปว่านี่คือรูปพระมารดาของพระเยซูคริสต์ (Ibid: 574) การมองศิลปะด้วยสายตาใหม่เช่นนี้นี่เอง ที่ท� ำให้ งานศิลปะไม่มีวันตาย เมื่อไม่ให้ความส� ำคัญกับการแสดงออกของความเชื่อและศรัทธา ซึ่งย่อมมีแตกต่าง กันไป แต่ให้ความส� ำคัญกับความเป็นศิลปะของผลงานมากกว่า ผลงานของศิลปินรุ่นเก่า ๆ จึงยังคงเป็น ที่ยอมรับต่อ ๆ ไปได้ในหมู่ศิลปินรุ่นหลัง นอกจากนี้ ความเป็นอมตะของศิลปะอาจเกิดวิวัฒนาการของรูปแบบและลีลาอีกด้วย วิวัฒนาการ เช่นนี้ท� ำให้ศิลปะเฟื่องฟูและรวมตัวกันเป็นกลุ่ม เป็นส� ำนัก ดังเช่นศิลปะกรีกและศิลปะบาร็อก ศิลปะโรมัน และศิลปะไบแซนไทน์ ศิลปะกอธิกและศิลปะสมัยใหม่ ด้วยเหตุนี้ ตราบเท่าที่ศิลปินยังไม่สิ้นไปจากโลก ศิลปะก็ย่อมจะมีรูปแบบที่แตกต่างหลากหลายไม่สิ้นสุดเช่นกัน ศิลปะจึงเปรียบเสมือน “ภาษาที่วิวัฒนาการ ไม่หยุดยั้ง” เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงความเป็นอมตะของมนุษย์นั่นเอง อ็องเดร มาลโร อธิบายไว้ใน Les Voix du Silence ว่า “วิวัฒนาการของรูปแบบศิลปะไม่ใช่เหตุบังเอิญ หากแต่เป็นกฎเกณฑ์การด� ำรงอยู่ของศิลปะ” (Ibid: 66-67) และใน La Métamorphose des Dieux เขาก็กล่าวย�้ ำว่า งานศิลปะทุกชิ้นแสดงถึงความ ปรารถนาอันยิ่งใหญ่ของผู้สร้างที่ต้องการหนีความตาย ศิลปะศักดิ์สิทธิ์ในยุคต้น ๆ จึงมักเป็นเรื่องของ พระเจ้าและพวกนักบุญเพราะบุคคลเหล่านี้ทรงไว้ซึ่งความเป็นอมตะในลักษณะหนึ่ง (Malraux 1957: 27)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=