สำนักราชบัณฑิตยสภา
101 จิ นตนา ด� ำรงค์เลิ ศ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๕ ขัดแย้งกับโลกเก่า ความขัดแย้งนี้ท� ำให้โลกศิลปะเป็นโลกซึ่งแสดงถึงอ� ำนาจการสร้างสรรค์อันไม่มี วันจบสิ้น เป็นอ� ำนาจซึ่งแสดงถึงความยิ่งใหญ่ และความเป็นอิสระของมนุษย์ผู้ใช้ปัญญา ศิลปะ : โลกแห่งอิสรภาพ อ็องเดร มาลโรคิดว่ามนุษยชาตินั้นล้วนตกอยู่ภายใต้กฎแห่งความไม่จีรังยั่งยืน มนุษย์ทุกคน ย่อมมีวันตาย มีวันที่ร่างกายจะดับสูญไปจากโลกนี้ ตัวละครมากหลายในนวนิยายของเขาได้พยายาม ที่จะแสวงหาความหมายให้กับชีวิตอันเป็นอนิจจังนี้ด้วยหนทางต่าง ๆ กัน และส� ำหรับตัวนักเขียนใน ระยะซึ่งเลิกรามาจากบทบาททางการเมืองและสังคมแล้วนี้ ก็มีความคิดว่าศิลปินเท่านั้นที่เป็นผู้มีอิสรภาพ เต็มที่ เพราะเขามี “อ� ำนาจสร้างสรรค์” งานตามความรู้สึกนึกคิดของเขาได้ กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือศิลปิน เป็นผู้มีอิสรภาพสูงสุดก็เพราะเขามีภาษาเฉพาะของพวกเขา นั่นคือ “ศิลปะ” ภาพวาดของศิลปินนั้นต่างกับภาพวาดของเด็ก อ็องเดร มาลโร กล่าวเปรียบเทียบว่าภาพวาด ของเด็กนั้นคือการแสดงจินตนาการของเด็กธรรมดา ส่วนภาพวาดของศิลปินเป็นการแสดงถึงความ ยิ่งใหญ่ของจินตนาการ อันได้แก่ ความเป็นอิสระ ศิลปินสามารถแสดงออกได้อย่างเต็มที่ถึงความคิด ความเชื่อ และจินตนาการทุกอย่างของเขา อ็องเดร มาลโรเขียนไว้ว่า “ภาษาที่ศิลปินใช้ ไม่ได้ท� ำให้ เขาสามารถกล่าวถึงทุกสิ่งในโลกได้ แต่ช่วยให้เขาสามารถกล่าวถึงทุกสิ่งที่เขาต้องการจะกล่าวถึงได้” ๑ (Ibid: 445) นี่คืออ� ำนาจอันยิ่งใหญ่ของผลงานศิลปะ อ็องเดร มาลโร ไม่คิดว่าศิลปะนั้นสร้างมาโดยไร้เป้าหมาย เขากล่าวว่าศิลปะมีหน้าที่ที่ต้องบรรลุ ถึงเสรีภาพ ศิลปะต้องสามารถปลดแอกมนุษย์ให้เป็นอิสระจากชะตากรรมที่ถูกลิขิตมาได้ ถ้าประวัติศาสตร์ เหตุการณ์ต่าง ๆ ก่อให้เกิดจิตส� ำนึกในชะตากรรมของมนุษยชาติ ศิลปะควรจะสามารถท� ำได้มากกว่า กล่าวคือ ศิลปะควรมีบทบาทในการปลดปล่อยมนุษยชาติด้วย (Ibid: 621) เขาเขียนนิยามค� ำว่า “ศิลปะ” ว่าคือ “การต่อสู้กับชะตากรรม” ๒ (Ibid: 637) ในตอนต้น ๆ นั้น ศิลปะรับใช้ศาสนาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ตัวอย่างเช่น ศิลปะของโลกตะวันตก ซึ่งรับใช้คริสต์ศาสนามาเป็นเวลานานหลายศตวรรษทีเดียว อ็องเดร มาลโร ไม่ได้แสดงความสนใจ ต่อศิลปะในคริสต์ศาสนามากนัก วิวัฒนาการของศิลปะจากการรับใช้ศาสนามาสู่การรับใช้มวลมนุษย์นั้น เป็นประเด็นซึ่งเขาสนใจมากกว่า งานเขียนเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ศิลปะของเขามุ่งติดตามวิวัฒนาการ จากศิลปะศักดิ์สิทธิ์มาสู่ศิลปะกรีก–โรมัน ซึ่งเป็นวิวัฒนาการที่ชี้ให้เห็นการยอมจ� ำนนต่อชะตากรรมของ มนุษย์ในตอนต้น และการปลดปล่อยมนุษย์ให้เป็นอิสระต่ออ� ำนาจลิขิตชะตากรรมของพระผู้เป็นเจ้าในที่สุด ๑ “La langue que le génie a conquise ne lui permet nullement de tout dire : elle permet de dire tout ce qu’il veut.” ๒ “L’art est un anti-destin.”
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=