สำนักราชบัณฑิตยสภา

อ็ องเดร มาลโร กั บโลกศิ ลปะ 100 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 37 No. 2 April-June 2012 การถือก� ำเนิดของศิลปิน อ็องเดร มาลโร ได้กล่าวไว้ใน La Métamorphose des dieux ว่าความเป็นศิลปินนั้นเริ่ม เกิดขึ้น เมื่อเรามองเห็นสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ในจักรวาลด้วย “สายตา” ที่แตกต่างจากคนทั่ว ๆ ไป หมายความว่า เราไม่ได้มองสิ่งต่าง ๆ ที่ล้อมรอบตัวว่าเป็นสิ่งที่มีความหมายในแง่ประวัติศาสตร์ โบราณคดี หรือ มานุษยวิทยาอีกต่อไป หากแต่มองเห็นว่าเป็นสิ่งที่มีความหมายทางศิลปะ อ็องเดร มาลโร กล่าวว่า คนที่ จะมี “สายตา” เช่นนี้ได้ก็มีแต่ “อัจฉริยะ” หรือ “ศิลปิน” เท่านั้น ใน La Métamorphose des dieux อ็องเดร มาลโร กล่าวว่า การค้นพบศิลปะของมนุษย์นั้น อาจเกิดขึ้นได้ทุกขณะและทุกสถานการณ์ ดังเช่นชาวตะวันตกได้ค้นพบศิลปะของชาวแอฟริกัน เมื่อเพ่งพินิจพิจารณาผลกล้วยหอมซึ่งเป็นผลไม้พื้นเมืองของทวีปแอฟริกา แต่การค้นพบศิลปะของ ชนชาติหนึ่งนั้นอาจเกิดจากสิ่งอื่น ๆ ที่ไกลจากสภาพแวดล้อมและคุณลักษณะประจ� ำชาตินั้น ๆ ก็ได้เช่นกัน ตัวอย่างเช่น ชาวยุโรปค้นพบศิลปะของพวกนีโกรแอฟริกัน จากการเพ่งพิศคุณลักษณะพิเศษ ที่แฝงอยู่ในรูปประติมากรรมของเซซานและปีกัสโซ ชาวสเปน ในท� ำนองเดียวกัน ชาวยุโรปได้สังเกตเห็น คุณลักษณะของศิลปะจีนในรูปประติมากรรมครึ่งตัวของโรมัน หาใช่จากเครื่องลายครามอันลือชื่อของจีนไม่ ส� ำหรับอ็องเดร มาลโร การค้นพบศิลปะในแง่มุมและสถานการณ์ต่าง ๆ กันเช่นนี้ เกิดขึ้นได้ก็เพราะมีศิลปิน ผู้เป็นอัจฉริยะทั้งหลายนั่นเอง (Malraux 1957: 20-21) อ็องเดร มาลโรกล่าวไว้ใน Les Voix du Silence ว่า ศิลปินมักจะรู้สึกว่ามีอุปสรรค ความยากล� ำบาก ในอันที่จะด� ำรงชีวิตให้เข้ากับสังคม เพราะเขามีความรู้สึกนึกคิด และจินตนาการที่แตกต่างไปจาก ผู้คนส่วนใหญ่ ด้วยเหตุนี้ศิลปินจึงด� ำรงชีวิตอยู่ในโลกอันโดดเดี่ยว เช่นเดียวกับตัวละครเอกทั้งหลาย ในนวนิยายของเขา เขาเขียนว่า “ความมีอ� ำนาจของศิลปิน เกิดจากความโดดเดี่ยวของเขานั่นเอง” (Malraux 1951: 628) ในสายตาของนักเขียนผู้นี้ ศิลปินย่อมถือก� ำเนิดมาจาก “ความขัดแย้ง” อันได้แก่ ความขัดแย้ง กับธรรมชาติ และความขัดแย้งกับรูปแบบเก่า ๆ ของศิลปะ เขากล่าวว่า เมื่อใดที่ปราศจาก “ความขัดแย้ง” โลกศิลปะก็ย่อมสิ้นสุด เพราะศิลปินถือก� ำเนิดมาจาก “ความขัดแย้ง” ดังได้กล่าวมาแล้ว ถ้าปราศจาก ซึ่ง “ความขัดแย้ง” ศิลปะรูปแบบใหม่ ๆ ย่อมไม่เกิดและการวาดภาพศิลปะก็จะเป็นเพียง “การลอกเลียน แบบเก่า” เท่านั้น และการลอกเลียนแบบก็ไม่นับว่าเป็น “ศิลปะ” ด้วยเหตุนี้ศิลปินจึงหมายถึง ผู้ที่มี “อ� ำนาจสร้างสรรค์” ดังค� ำที่จิตรกรชื่อ ฟินเซนต์ ฟาน ก็อก (Vincent van Gogh) ได้กล่าวไว้ อ็องเดร มาลโร เองก็เคยเขียนไว้ใน Les Voix du Silence ว่า “บุคคลผู้ที่ไม่เคยไม่พอใจอะไรเลย นับตั้งแต่วัยที่เขายังนอนเปลจนโตขึ้น ไม่มีวันที่จะค้นพบสิ่งใหม่ ๆ ได้” (Ibid: 337) ด้วยเหตุนี้ศิลปินจึง เป็นผู้ที่ส� ำแดงถึงสติปัญญาอันปราดเปรื่องและเป็นผู้กล้าหาญที่จะแสดงความคิดขัดแย้งกับโลกและสังคม

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=