สำนักราชบัณฑิตยสภา
97 จิ นตนา ด� ำรงค์เลิ ศ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๕ ปัญหาประการหนึ่งที่เราเผชิญหน้าทุกวันนี้ คือ การที่จะรู้ว่าจริงหรือ เปล่าที่บนผืนแผ่นดินอันเก่าแก่ของยุโรปนี้ มนุษย์ได้ตายไปแล้ว ถ้าปัญหาเกิดขึ้นตอนนี้ อย่างน้อยเราก็พอจะมองเห็นเหตุผลประการ แรก ๆ อยู่บ้าง ก่อนอื่น คริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ มีความหวังอันยิ่งใหญ่ในวิทยาศาสตร์ สันติภาพ การแสวงหาศักดิ์ศรีมนุษย์ เมื่อ ๑๐๐ ปีที่แล้ว ความหวังทั้งมวลที่มีต่อมนุษยชาติจะบรรลุถึงการ ค้นพบทั้งหมดที่รับใช้มนุษย์ ความคิดทั้งหมดที่รับใช้สันติภาพ ความรู้สึก ทั้งหมดที่รับใช้ศักดิ์ศรีมนุษย์ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสันติภาพ กระผมคิดว่า ไม่มีประโยชน์จริง ๆ ที่จะเน้นถึงเรื่องดังกล่าว (...) พลังของตะวันตกคือ การยอมรับสิ่งที่ไม่รู้จัก ยังคงมีมนุษยนิยมที่เป็น ไปได้ แต่จ� ำต้องบอกเราอย่างชัดเจนว่านี่คือมนุษยนิยมที่เป็นโศกนาฏกรรม เราเผชิญหน้ากับโลกที่เราไม่รู้จัก เราต้องเผชิญกับโลกนี้อย่างมีจิตส� ำนึก และ นี่คือสิ่งที่เราเท่านั้นต้องการ เราต้องไม่เข้าใจผิด ความต้องการมีจิตส� ำนึกและ การค้นพบซึ่งเป็นคุณค่าพื้นฐานเป็นของยุโรปและของยุโรปเท่านั้น พวกท่าน ได้พบเห็นอยู่ทุกวันในด้านวิทยาศาสตร์ ขณะนี้รูปแบบของความคิดเป็นรูป เป็นร่างขึ้นมาจากจุดเริ่มต้นและวิธีการแสวงหา โคลัมบัสตระหนักดีว่าเขา เดินทางออกจากที่ใดและจะไปที่ใด และเราก็ไม่สามารถวางทัศนคติของ มนุษย์ลงบนโศกนาฏกรรมเนื่องด้วยมนุษย์ไม่ตระหนักรู้ว่าเขาจะไปแห่งหน ใดและในประเด็นมนุษยนิยมก็เช่นกันเพราะว่ามนุษย์รู้ว่าเขาเดินทางออก จากที่ไหนและเขาต้องการจะไปที่ใด... (Payne 1973: 301-302) มาลโรกล่าวสุนทรพจน์อีกหลายครั้งในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ใหม่ ๆ เขาย้อนรอย วิวัฒนาการของยุโรปไปถึงยุคเริ่มต้นสมัยอียิปต์โบราณมาจนถึงวิวัฒนาการด้านศิลปะของยุโรป ในทัศนะ ของมาลโร ยุโรป ได้แก่ วิหารเมืองชาทร์ (Chartres), มีเกลันเจโล (Michelangelo), ชาวอิตาลี เชกสเปียร์, เรมบรันต์ (Rembrandt) มาลโรกล่าวว่าเป็นไปไม่ได้ที่มนุษย์จะปล่อยให้มรดกทางวัฒนธรรมอันวิเศษ ต้องตายไป มาลโรกล่าวโทษสตาลินว่าเป็นศัตรูของศิลปะ สตาลินบังคับให้ศิลปินรับใช้ชาติ จิตรกรและ นักประติมากรรมชาวโซเวียตที่ไม่กระท� ำตามค� ำสั่งของสตาลินต้องถูกลงโทษ ด้วยเหตุนี้รัฐที่เข้มแข็งและ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=