สำนักราชบัณฑิตยสภา

อ็ องเดร มาลโร กั บโลกศิ ลปะ 96 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 37 No. 2 April-June 2012 ผลงานด้านวัฒนธรรม เย็นวันหนึ่งในฤดูร้อน ค.ศ. ๑๙๔๕ (พ.ศ. ๒๔๘๘) มาลโรได้รับแจ้งจากเสนาธิการทหารว่า นายพลชาร์ล เดอ โกล ประสงค์จะพบเขาที่กระทรวงสงคราม (ministère de la Guerre) มาลโร เขียนเล่าไว้ในหนังสือ บันทึกความทรงจ� ำ ภายหลังว่า นายพลเดอ โกล สนใจความคิดของมาลโรเกี่ยวกับ การประชาสัมพันธ์และงานด้านสื่อสารมวลชน มาลโรได้กล่าวถึงการใช้โสตทัศนูปกรณ์ในการสอน เช่น การฉายภาพยนตร์ให้นักเรียนเห็นภาพแม่น�้ ำการอน (La Garonne) ย่อมดีกว่าการบรรยายบทเรียน เพียงประการเดียว เขาเสนอว่าควรน� ำภาพจิตรกรรมที่มีชื่อเสียงมาผลิตเป็นภาพพิมพ์เพื่อแจกจ่าย ไปตามโรงเรียนทั่วประเทศฝรั่งเศส ซึ่งจะช่วยพัฒนาทักษะทางศิลปะของนักเรียน ในยุคที่เทคโนโลยีพัฒนา ก้าวหน้านี้ เราควรใช้ประโยชน์จากภาพยนตร์ วิทยุ และภาพพิมพ์เพื่อช่วยการเรียนการสอนในประเทศ ฝรั่งเศสซึ่งไม่ได้เปลี่ยนแปลงเลยนับตั้งแต่สมัยกลางเป็นต้นมา ต่อจากนั้นมาลโรเน้นถึงประสิทธิภาพ ของการใช้สื่อภาพยนตร์และวิทยุเพื่อเผยแพร่ภาพการเมืองและเขายังเน้นถึงความจ� ำเป็นในการหยั่งเสียง ประชาชนเพื่อที่รัฐบาลจะได้รับรู้ว่ารัฐบาลเข้าถึงประชาชนได้มากแค่ไหน นายพลเดอ โกล รู้สึกประทับ ใจความคิดด้านการเมืองของมาลโร จึงเชิญมาลโรมาสอบถามว่าจะเต็มใจท� ำงานเป็นที่ปรึกษาของเขา หรือไม่ อีกเพียงไม่กี่วันต่อมา มาลโรก็ได้รับแต่งตั้งให้เข้ารับต� ำแหน่งในคณะรัฐมนตรีของนายพล เดอ โกล โดยเป็นที่ปรึกษาเทคนิคด้านการปรับปรุงการเรียนการสอนให้เป็นสมัยใหม่และด้านการ หยั่งเสียงประชาชน นอกจากนี้ เขายังได้รับแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษาด้านวัฒนธรรมต่อคณะรัฐมนตรี ต่อมาเมื่อนายพลเดอ โกลได้จัดตั้งคณะรัฐบาลครั้งที่ ๒ มาลโรได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีด้านการข่าวสาร (ministre de l’Information) หน้าที่หลักของมาลโรในต� ำแหน่งนี้ ได้แก่ การเตรียมเอกสารส� ำหรับ การประชุมคณะรัฐมนตรี ที่จริงแล้วมาลโรไม่ได้สนใจปฏิบัติหน้าที่รัฐมนตรีด้านการข่าวสารเท่าใดนัก เขากลับคิดวางแผนจะจัดตั้งศูนย์วัฒนธรรม (maisons de la culture) ให้กระจายไปทั่วประเทศฝรั่งเศส ซึ่งกว่าความคิดนี้จะเป็นความจริงได้ก็อีก ๑๓ ปีต่อมา นอกจากนี้แล้ว มาลโรยังประสงค์จะให้พิมพ์ภาพ ชิ้นเอกของจิตรกรคนส� ำคัญของฝรั่งเศสแจกจ่ายไปตามโรงเรียนทั่วประเทศ ใน ค.ศ. ๑๙๔๖ (พ.ศ. ๒๔๘๙) หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ในโอกาสที่เปิดประชุมยูเนสโก ที่ลาซอร์บอน มหาวิทยาลัยปารีส มาลโรกล่าวถึงชะตากรรมของมนุษย์ในช่วงเวลาที่เพิ่งผ่านพ้นการทรมาน และการฆาตกรรมหมู่มาก สุนทรพจน์ครั้งนี้ดึงดูดใจผู้ฟังเป็นอย่างมาก ดังตัวอย่างตอนหนึ่งว่า

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=