สำนักราชบัณฑิตยสภา
95 จิ นตนา ด� ำรงค์เลิ ศ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๕ มาลโรมีความสนใจทั้งวรรณคดีและศิลปะ เขาอุทิศเวลาอ่านหนังสืออย่างมากในหอสมุดแห่งชาติ เพื่อนสนิทที่ไปหอสมุดกับเขาคือ ปัสกาล ปียา (Pascal Pia) ซึ่งเป็นนักอ่านตัวยงเช่นกัน แรกเริ่มเดิมทีนั้น มาลโรชอบอ่านวรรณกรรมเรื่องเกี่ยวกับซาตานหรือภูตผีปีศาจ หนังสือเล่มที่เขาชอบอ่านมากพิเศษคือ เรื่อง Tête d’Or (ค.ศ. ๑๘๘๙/พ.ศ. ๒๔๓๒) ของปอล โกลแดล (Paul Claudel) Tête d’Or หรือ ศีรษะทองค� ำ เป็นตัวละครในจินตนาการที่มีรูปร่างใหญ่โตและฝันที่จะครองโลก เขาเข้าย�่ ำยีดินแดนเอเชีย อย่างโหดร้ายแต่ก็ต้องตายในที่สุด เมื่อมาลโรมาพ� ำนักที่ปารีส มาร์แชล พรูสต์ (Marcel Proust) ยังคง มีชีวิตอยู่ นักเขียนที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในตอนนั้น ได้แก่ ปอล วาเลรี (Paul Valéry) และอ็องเดร ฌีด (André Gide) นอกจากนี้ยังมีนักเขียนและกวีคนส� ำคัญอีก เช่น ฌอร์ฌ ดูว์อาแมล (Georges Duhamel), ฌ็อง ก็อกโต (Jean Cocteau), ฟร็องซัว โมรียัก (François Mauriac), กีโยม อาปอลีแนร์ (Guillaume Apollinaire) ฯลฯ ในช่วงเวลานั้น ดนตรีแจ๊สก� ำลังเป็นที่นิยมทั่วโลก คนหนุ่มสาวฝรั่งเศสโดยเฉพาะ อย่างยิ่งนักเขียน ศิลปิน และปัญญาชนเกิดจิตส� ำนึกตระหนักถึงความเปลี่ยนแปลงของโลก ตั้งค� ำถาม เกี่ยวกับคุณค่าดั้งเดิมของสังคม และมองหาจุดหมายใหม่ของชีวิตมนุษย์ นักเขียนฝรั่งเศสในช่วงหลัง สงครามโลกครั้งที่หนึ่งในทศวรรษ ๑๙๒๐ รุ่นเดียวกับอ็องเดร มาลโรในวัยหนุ่ม “ต่างรู้สึกมั่นใจในตนเอง เริงร่ากับเสรีภาพใหม่ที่ได้รับ เนื่องจากพวกเขาคิดว่าสงครามได้สิ้นสุดลงแล้วและต่อแต่นี้ไปจะต้องสร้าง อารยธรรมใหม่ขึ้นมา” (Payne 1973: 27) อ็องเดร มาลโรได้ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับศิลปะเขมรที่พิพิธภัณฑ์กีเม (Guimet) ในกรุงปารีส ซึ่งมีผลงานศิลปะเขมรอยู่ไม่มากนัก แต่เป็นชิ้นเด่น ๆ ทั้งนั้น ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม ค.ศ. ๑๙๒๔ (พ.ศ. ๒๔๖๗) อ็องเดร มาลโรซึ่งขณะนั้นมีอายุ ๒๓ ปี ได้ออกเดินทางพร้อมภรรยาชื่อ กลารา (Clara) โดยทางเรือจากเมืองท่ามาร์แซย์มุ่งสู่ประเทศกัมพูชา ส่วนเพื่อนของมาลโรคือ ลุย เชอวาซง (Louis Chevasson) ได้เดินทางมาสมทบกับคณะภายหลัง คณะของมาลโรได้ออกเดินทางไปปฏิบัติงานค้นคว้า ทางโบราณคดีที่บัณฑายสรีโดยมีผู้น� ำทางเป็นชาวเขมร ชื่อเมืองบัณฑายสรี แปลว่า “ปราสาทของเทพธิดา ผู้ทรงพรหมจรรย์” สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๑๕๑๐ สมัยพระเจ้าราเชนทรวรมัน จากการส� ำรวจบัณฑายสรีในครั้งนี้ มาลโรและคณะได้น� ำเอารูปปั้นและภาพแกะสลักที่มี ความงดงามกลับมาหลายชิ้น ท� ำให้เขาถูกจับกุมตัวมาสอบสวนโดยเจ้าหน้าที่ปกครองอาณานิคม ส่วน รูปปั้นและภาพแกะสลักถูกทางการกัมพูชายึดไว้ หลังการต่อสู้ทางศาล มาลโรและคณะได้รับการ ปล่อยตัวกลับกรุงปารีสโดยอ้างว่าพวกเขาได้ไปท� ำการส� ำรวจดินแดนที่ส� ำนักฝรั่งเศสแห่งปลายบุรพทิศ ยังไปไม่ถึง อย่างไรก็ดี เหตุการณ์ครั้งนี้นับเป็นรอยด่างในประวัติชีวิตของอ็องเดร มาลโร หลังจากเหตุการณ์ ครั้งนี้ มาลโรหันไปท� ำงานด้านวรรณกรรมและการเมือง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=