สำนักราชบัณฑิตยสภา

5 นววรรณ พั นธุเมธา วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๕ โนน นูน เนิน ดอน ความใกล้กัน คือเป็นที่สูง ( บันทึกเรื่องความรู้ต่าง ๆ เล่ม ๒ หน้า ๒๐๐) ไทยใหญ่เรียกหน้าไม้ว่า ก้อง ค� ำว่า ก้อง ที่แปลว่า คันธนู ถ้าเทียบกับค� ำว่า โก่ง หลังกุ้ง หลังโกง โค้ง คุ้ง ฮุ้ง รุ้ง ก็แปลกที่เสียงและความหมายคล้ายคลึงกันทุกค� ำ เห็นด้วยเกล้าฯ ว่า ตั้งค� ำจากที่มาค� ำเดียวกัน ( บันทึกเรื่องความรู้ต่าง ๆ เล่ม ๒ หน้า ๒๖๓) ข้อแปลกที่ค� ำซึ่งมีความหมายในพวกว่า รุ่งเรือง มีในภาษาไทยอยู่หลายค� ำ คือ รุ่ง ร่วง เรือง เรื้อง เหลือง รังรอง ( บันทึกเรื่องความรู้ต่าง ๆ เล่ม ๓ หน้า ๕๐) ค� ำว่า ประกบ, ประกับ, ก� ำ, หับ, หีบ, งับ, ง� ำ, ขับ, หลับ, อับ, ครอบ คิดด้วยเกล้าฯ ว่า เป็นค� ำพวกเดียวกัน แล้วยังเลยไปถึงค� ำในจ� ำพวก อม, ออม, โอบ, อ้อม, หอบ, หอม, งอบ, รอบ, รวบ, รวม, ร่วม, ลอม, งวม, กรอบ, กรวม, คร่อม, ขอบ ซึ่งล้วน เป็นค� ำมีความหมายในเรื่องปิดง� ำรวมเอาไว้ และมีเสียงตัวหน้าอยู่ในพยัญชนะวรรค ก และ ห, ฮ, ร, ล, อ ทั้งนั้น ( บันทึกเรื่องความรู้ต่าง ๆ เล่ม ๓ หน้า ๕๗-๕๘) หนุ่ย ทุย ตุ่ย ล้วนมีความหมายว่า ยื่น งอกออกมา ( บันทึกเรื่องความรู้ต่าง ๆ เล่ม ๓ หน้า ๒๐๗) ตูบ กะต๊อบ กะท่อม ทับ กรรถอบ จะมีที่มาจากค� ำเดียวกัน ล้วนแปลงเสียง ให้มีความหมายแยกออกไป ( บันทึกเรื่องความรู้ต่าง ๆ เล่ม ๓ หน้า ๓๐๑-๓๐๒) คิดด้วยเกล้าฯ ว่า ค� ำเหล่านี้จะเป็น พวกเดียวกัน ห้วง วัง ว่าง ว้าง หว่าง เวิ้ง เวิน (อีศานว่า ที่น�้ ำวน) วนเวียน ( บันทึกเรื่องความรู้ต่าง ๆ เล่ม ๔ หน้า ๑๓) เมื่อประมวลค� ำที่มีเสียงและความหมายไปในพวกใหลหลง ก็มี หลงลืม ลุ่มหลง หลงใหล ใหลเหลอ ใหลเล่อ เลินเล่อ เลอะ เผลอไผล (เหลอใหล) เผอเรอ เพลิดเพลิน (เลิดเลิน) เคลิบเคลิ้ม (เลิบเลิ้ม=ลืม) คลุ้ม (ลุ่มหลง) คลั่งไคล้ หลงใหล บ้าหลัง ( บันทึกเรื่องความรู้ต่าง ๆ เล่ม ๔ หน้า ๒๔๓)

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=