สำนักราชบัณฑิตยสภา
65 ปานสุนี สุววรณก� ำเนิ ด, สมชาย วงศ์วิ เศษ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๕ หัวข้อ ๑. บทน� ำ ๒. ลักษณะการไหลแบบสองเฟสในช่องทางการไหลขนาดเล็กมาก ๒.๑ การไหลแบบสองเฟสในช่องทางการไหลขนาดเล็กโดยไม่มีการให้ความร้อน (Adiabatic two-phase flow in micro-channels) ๒.๑.๑ รูปแบบการไหลแบบสองเฟสและแผนที่รูปแบบการไหล (Flow visualization) ๒.๑.๒ Void fraction ๒.๑.๓ ความดันลดในช่องทางการไหลแบบสองเฟส (Two-phase flow pressure drop) ๒.๒ การไหลแบบสองเฟสในช่องทางการไหลขนาดเล็กโดยมีการให้ความร้อนแต่ไม่มี การเดือด (Non-boiling heat transfer two-phase flow in micro-channels) ๒.๒.๑ รูปแบบการไหลแบบสองเฟสและแผนที่รูปแบบการไหล (Flow visualization) ๒.๒.๒ ลักษณะการถ่ายเทความร้อน ๓. สรุป ๔. อ้างอิง ๑. บทน� ำ การไหลสองสถานะของแก๊สและของไหลนอกจากจะเกิดในธรรมชาติแล้ว ยังเกิดโดยมนุษย์ น� ำมาใช้ในกระบวนการต่าง ๆ เช่น การส่งถ่ายน�้ ำมัน เครื่องก� ำเนิดไอน�้ ำ (steam generator) ระบบท� ำความ เย็น (cooling system) เครื่องปฏิกรณ์ (reactors) โดยปัจจุบันการไหลสองสถานะของสารท� ำงานใน ช่องทางการไหลขนาดเล็กมากได้รับความสนใจในการศึกษาเพื่อน� ำมาใช้งานมากขึ้น ในวงการพลังงาน เคมี แพทยศาสตร์ เภสัชศาสตร์ เกษตรกรรม และอิเล็กทรอนิกส์ (Micro-Electro-Mechanical System; MEMEs) โดยมีวัตถุประสงค์หลัก คือ เพื่อลดขนาดอุปกรณ์ให้เล็กลง เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการ ของโลก และเพื่อลดการใช้พลังงาน ในช่องทางการไหลสองเฟสขนาดนั้น แรงโน้มถ่วงมีอิทธิพลต่อความเค้นเฉือนและแรงตึงผิว สูงมาก แต่ส� ำหรับการไหลสองเฟสในช่องทางการไหลขนาดเล็กมาก ค่าความสัมพันธ์ของแรงโน้มถ่วง จะมีอิทธิพลต่อความเค้นเฉือนและแรงตึงผิวลดน้อยลง ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ส� ำคัญของแรงต่าง ๆ ที่ กล่าวมาด้วย Kreutzer et al. [1] ได้เสนอการแบ่งระดับขนาดของช่องทางการไหลที่มีรูปแบบการไหลแบบ สองเฟสโดยใช้ critical Bond number ( Bo ) และได้มีการน� ำมาใช้และได้รับการวิเคราะห์โดย Bretherton [2]
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=