สำนักราชบัณฑิตยสภา
61 จ� ำลอง เพ็ งคล้าย วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๕ ระยะเวลาเก็บเกี่ยวสั้นกว่าพันธุ์ข้าวเจ้า เพียงแต่หว่านเมล็ดหรือปักด� ำกล้าในช่วงต้นฤดูฝน พอปลาย ๆ ฤดูก็สามารถเก็บเกี่ยวได้ เมื่อท� ำให้สุกแล้วสามารถเก็บไว้ได้นานกว่าข้าวเจ้ามาก และพกพาสะดวก เพราะจับตัวกันเป็นกลุ่มก้อน และแม้แต่พันธุ์ข้าวเจ้าบางสายพันธุ์ที่ให้ชื่อทั่วไปว่า ข้าวหอมมะลิ ซึ่ง เป็นที่นิยมของประชาชนทั้งในและต่างประเทศ แหล่งผลิตใหญ่ในปัจจุบันก็มาจากภาคอีสานเช่นกัน ภูมิปัญญาพื้นบ้านเรื่องการสร้างที่อยู่อาศัย ภาคอีสานแม้ว่าจะมีไม้มีค่าและมีความทนทานต่อสภาพภูมิอากาศสูง แต่เครื่องมือที่จะแปรรูป ไม้ค่อนข้างจ� ำกัด ชุมชนมีแต่ มีด ขวาน เป็นหลักประจ� ำบ้าน ฉะนั้นวิธีที่ง่ายและสะดวกที่สุด ชุมชนจะ มองไปที่ไม้ไผ่นานาชนิด ซึ่งง่ายต่อการน� ำพาและแปรรูป ฉะนั้นที่พักอาศัยจะประกอบด้วยไม้ไผ่ ไม่ว่าจะ เป็นเครื่องบน ฝา พื้น รอด ตง คาน จนถึงเสา จะท� ำด้วยไม้ไผ่เกือบทั้งหมด และก่อนใช้ เขาจะเอาไม้ไผ่ ไปแช่ในน�้ ำเวลามากน้อยตามก� ำหนดเพื่อให้สาร (พวกแป้ง) เปลี่ยนรูปท� ำให้อายุการใช้งานยาวขึ้น เมื่อมี เครื่องมือในการแปรรูปไม้เข้ามาใช้มากขึ้น ชุมชนก็เปลี่ยนจากการใช้ไม้ไผ่มาสู่ไม้เนื้อแข็งต่าง ๆ เช่น ไม้ เต็ง ตะเคียนทอง มะค่า ประดู่ ที่มีอยู่มากมายในขณะนั้น มาท� ำเป็นพื้น รอด ตง คาน เสา หลังคาแต่เดิม คงใช้หญ้าแฝก หญ้าคา ใบเหียง ใบพลวง ก็เปลี่ยนมาเป็นใบจาก สังกะสี หรือกระเบื้องในเวลาต่อมา พื้น บ้านแต่เดิมอาจใช้ไม้ไผ่ ก็เปลี่ยนเป็นไม้กระดาน อาจเป็นไม้แดง ไม้มะค่า เสาที่ท� ำจากไม้ไผ่ก็เปลี่ยนเป็น ไม้เนื้อแข็งนานาชนิด จนถึงเสาคอนกรีตเสริมเหล็กในปัจจุบัน ส่วนไม้ไผ่ก็น� ำไปใช้สร้างโรงเรือนให้กับสัตว์ เลี้ยง ท� ำเครื่องจักสาน เช่น สานพ้อม กระบุง ตะกร้า กระจาด ฯลฯ เพื่อใช้ใส่หรือเก็บรักษาผลิตผลทางการ เกษตรและอื่น ๆ ตามความเหมาะสม ภูมิปัญญาพื้นบ้านด้านการน� ำส่วนของพืชมาผลิตเครื่องนุ่งห่ม (ขอยกเป็นตัวอย่าง ๓๘ ชนิด) พืชน้อยใหญ่ที่เกิดขึ้นมากมายในท้องถิ่น มีมากชนิดที่ชุมชนน� ำมาใช้เป็นเชือกหยาบ ๆ หรือ น� ำเยื่อหรือใยมาบิดรวมเป็นเกลียว เพื่อน� ำมาเป็นเชือกหยาบ ๆ และพัฒนามาเป็นเส้นด้ายน� ำมาทอ จนเป็นผืนโต เพื่อน� ำมาใช้นุ่งห่ม กันร้อน กันหนาว รวมทั้งเอาเส้นใยที่ห่อหุ้มแมลง มาปั่น มาทอเป็น เส้นด้าย พัฒนาขึ้นมาเรื่อย ๆ จนเป็นสินค้าเอกลักษณ์ เช่น ผ้าไหมโคราช หรือผ้าไหมอีสานในปัจจุบัน เปลือกพืชที่ให้เส้นใยที่เกิดตามธรรมชาติในภาคนี้มีมากมาย ขอน� ำมาเสนอในที่นี้ประมาณ ๓๙ ชนิด คือ ชะมดต้น Abelmochus moschatus Medic, เทียนด� ำ Abroma angusta Linn.f., อีโพละ Abutilon indicum G. Don, ขางปอย Alchornia rugosa Muell. Arg., ยางน่อง Antiaria toxicaria Lesch., ไม้หอมหรือกฤษณา Aquilaria crassna Pierre ex Lec., กะเอาะ Artocarpus elastica Reinw., มะหาด Artocarpus lacoocha Roxb., ปอเจี่ยน Bauhinia bracteata Grah. ex Bak., เถาไฟ Bauhinia integrifolia Roxb., อรพิม Bauhinia winitii Craib, งิ้ว Bombax ceiba Linn., ปอกระสา Broussonetia papyrifer a Vent., ทองกวาว Butea mosperma Ktze, กระโดน Careya spharica Roxb., ปอเส้ง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=