สำนักราชบัณฑิตยสภา
59 จ� ำลอง เพ็ งคล้าย วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๕ ภูมิปัญญาพื้นบ้านด้านน� ำพืชมาเป็นอาหาร จากอดีตสู่ปัจจุบัน ชาวภาคอีสานน่าจะได้สังเกตจากพฤติกรรมของสัตว์ ไม่ว่าจะเป็นพวกสัตว์ ปีกหรือสัตว์กีบ ว่าพวกนั้นกินอะไร ก็เข้าไปทดลองกินบ้าง อะไรที่ทดลองกินแล้วรู้สึกว่าชอบและไม่เป็น พิษเป็นภัย ก็จะก� ำหนดเอาไว้ว่าจะต้องเอาไปกินต่อ หรือน� ำไปให้พรรคพวกได้กินบ้าง ด้วยการก� ำหนด รูปลักษณ์และสถานภาพที่จะใช้บริโภคเอาไว้ การสังเกตสู่การทดลองนี้จะสืบสานต่อ ๆ กันไป ถ้าชนิดใด รู้สึกว่าชอบมาก ก็จะพัฒนาไปสู่การปลูก เพื่อให้สะดวกและให้ได้ปริมาณมากพอต่อตนเอง ต่อครอบครัว หรือชุมชน เป็นการอนุรักษ์และเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน กลายเป็นพืชไร่พืชสวน ขยายพันธุ์ต่อ ๆ กันไป ส่วน ชนิดไหนที่ไม่ชอบก็จะไม่ส่งเสริมให้มีการปลูกเพิ่มเติม การสังเกตทดลองเหล่านี้จะมีการแนะน� ำ การบอก กล่าวให้คนข้างเคียงหรือให้ลูกหลานได้รับรู้สืบต่อ ๆ กันมาจนถึงปัจจุบัน และยิ่งในปัจจุบันจะมีการทดลอง ผสมพันธุ์กันไปมา หากชนิดไหนทดลองผสมพันธุ์แล้วได้ผลดีกว่าเดิมก็จะให้เป็นแม่พันธุ์หลัก การทดลอง หรือสืบสานความรู้เหล่านี้ไม่มีจุดจบ มีแต่จะเพิ่มพูนตามวิสัยของมนุษย์ต่อไปอีกในอนาคต แต่อีกด้านหนึ่ง หากพืชใดทดลองบริโภคแล้วท� ำให้เกิดเป็นพิษหรือบางทีโชคร้ายอาจถึงแก่ชีวิต ก็จะจดจ� ำไว้และรีบบอก กล่าวกันว่า ชนิดนั้น ๆ อย่าน� ำมาบริโภคเพราะจะเกิดอันตราย ซึ่งทั้ง ๒ ด้าน ก็นับเป็นภูมิปัญญาพื้นบ้าน ที่ส� ำคัญยิ่ง พืชอาหารที่สืบสานกันมาจากอดีตสู่ปัจจุบันของชุมชนภาคอีสาน อาจแยกไปตามส่วนของพืชที่ ใช้ได้เป็น ๓ กลุ่ม ดังนี้ ๑. ใช้หัว เหง้า หรือส่วนที่ยังอ่อนของล� ำต้นเป็นอาหาร (ขอยกเป็นตัวอย่าง ๑๔ ชนิด) คือ เง่ าน�้ ำทิพย์ Agapetes saxicola Craib, กระดาษด� ำ Alocasia macrorhiza Schott, สามสิบ Aspalagus racemosus Willd, ไผ่ Bambusa spp., หวาย Calamus spp., เต่าร้าง Caryota urens Linn., เผือก Colocasia esculenta Schott, ปรงเขา Cycas pectinata Griff., มันเสา Dioscorea alata Linn., กลอย Dioscorea hispida Dennst., มันคันขาว Dioscorea pentaphylla Linn., ไผ่ไล่ลอ Gigantochloa nigrociliata Kurz, เปราะหอม Kaemferia galangal Linn., กล้วยป่า Musa spp., แขม Saccharum arundinaceum Retz., เท้ายายม่อม Tacca leontopetaloides (L.) Ktze, ไผ่รวก Thyrsostachys siamensis Gamble และตองกง Thysanolaena latifolia (Roxb. ex Hern) Honda เป็นต้น ด้วยการน� ำส่วนที่อ่อนมาบริโภค ๒. ใช้ผลและเมล็ดเป็นอาหาร (ขอยกเป็นตัวอย่าง ๒๗ ชนิด) คือ มะตูม Aegle mamelos Corr., มะค่าโมง Afzelia xylocarpa Craib, กระทุ่ม Anthocephalus chinensis Rich. ex Walp., เม่าไข่ปลา Antidesma ghaesembilla Gaertn., ส้มโหลก Baccaurea lanceolata Nuell., มะยง Bouea oppositifolia Meisn., มะปริง Bouea oppositifolia Meisn. var. microphylla (Griff.) Merr., มะกอกเกลื้อน C anarium subulatum Guill., หนามพรม Carissa cochinchinensis Pierre,
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=