สำนักราชบัณฑิตยสภา

The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 37 No. 4 Oct-Dec 2012 ความหลากหลายของพืชกับภูมิปัญญาพื้นบ้านอีสาน จ� ำลอง เพ็งคล้าย ราชบัณฑิต ส� ำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสถาน บทคัดย่อ ชุมชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยในอดีตต้องอาศัยธรรมชาติในการด� ำรงชีพ จึงมี ความรอบรู้ถึงปัจจัยสี่ อันประกอบด้วย อาหาร ที่อยู่ เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรคเป็นอย่างดี การ ท� ำความรู้จักใช้ประโยชน์จากพืชหรือสัตว์เพื่อการยังชีพนั้นเป็นศาสตร์และเป็นวิถีชีวิตที่มีคุณค่ายิ่ง ของชุมชน ทั้งด้านอาหาร ที่อยู่อาศัย และเครื่องนุ่งห่ม ค� ำส� ำคัญ : ปัจจัย ๓ ใน ๔ ประการ, คนอีสาน, การยังชีพ อีสานหรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยนับเป็นชุมชนที่มีประชากรที่ถือครองพื้นที่ มากที่สุดและใหญ่ที่สุดของประเทศ ประกอบด้วย ๑๗ จังหวัด อันมี เพชรบูรณ์ เลย อุดรธานี หนองคาย สกลนคร นครพนม กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ร้อยเอ็ด ยโสธร ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี มีภาษาถิ่นและขนบธรรมเนียมเฉพาะตัว การยังชีพท� ำการเกษตรเป็นหลัก ผู้คนอยู่ง่าย กินง่าย มีความซื่อสัตย์ ขยันขันแข็ง อดทนต่อสภาพแวดล้อมเป็นเลิศ นับถือศาสนาพุทธเป็น หลัก มีการพึ่งพากันในกลุ่มและระหว่างกลุ่มกันอย่างดียิ่ง ตลอดจนให้ความเป็นมิตรกับผู้คนต่างถิ่นง่าย และจริงใจ ชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หากเทียบกับชุมชนคนไทยในภาคอื่น ๆ ของประเทศแล้ว ชุมชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือค่อนข้างจะเสียเปรียบกับชุมชนภาคอื่น อันเนื่องมาจาก ความแห้งแล้งเป็นปัจจัยส� ำคัญยิ่ง แต่หากพิจารณาจากการต่อสู้เพื่อความอยู่รอดและการพัฒนาตนเอง แล้ว ชาวภาคอีสานของไทยไม่น้อยหน้าภาคใด ทั้งนี้เพราะการสืบสานภูมิปัญญาจากบรรพบุรุษในอดีต สู่ปัจจุบัน และพัฒนาต่อยอดอย่างไม่หยุดยั้ง ที่เห็นได้ชัดเจนจากปัจจัยหลัก ๔ ประการของการด� ำรงชีวิต คือ ด้านอาหาร ด้านที่อยู่ ด้านเครื่องนุ่งห่ม และด้านยารักษาโรค (ซึ่งด้านนี้จะไม่ขอกล่าว เพราะเป็นเรื่อง ละเอียดอ่อนต่อชีวิตมากเกินกว่าที่จะพูดกันในกลุ่มผู้ไม่มีความสันทัดในด้านนี้)

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=