สำนักราชบัณฑิตยสภา
55 ศศิ ธร ผู้กฤตยาคามี , ปริ มาส หาญบุญคุณูปการ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๕ อัตราตายหากไม่รักษา ร้อยละ ๗-๑๓ ร้อยละ ๖.๕ การวินิจฉัยโรค เพาะเชื้อและเทคนิคโมเลกุล กล้องจุลทรรศน์ การฉีดสัตว์ ยารักษา Penicillin Penicillin ภาวะแทรกซ้อน รุนแรงมาก รุนแรงปานกลาง โรคติดเชื้อ S. moniliformis พบลักษณะทางคลินิก ๒ แบบ คือ ไข้หนูกัด และไข้ Haverhill ซึ่งพบ น้อยกว่าไข้หนูกัดจากเชื้อ S. moniliformis มักเกี่ยวข้องกับหนูกัดและข่วน ระยะฟักตัว ๒-๑๐ วัน เริ่มต้น ด้วยไข้สูง หนาวสั่น ปวดศีรษะ และปวดตามข้อต่าง ๆ ปรากฏผื่นนูนแดงหรือจุดเลือดออกใต้ผิวหนัง (รูป ที่ ๓) ขึ้นตามรยางค์โดยเฉพาะที่ฝ่ามือและฝ่าเท้า แต่อาจพบทั่วร่างกายได้ ข้อขนาดใหญ่มักอักเสบชัดเจน ผู้ป่วยส่วนใหญ่อาจหายได้เองภายใน ๒ สัปดาห์ แต่ร้อยละ ๑๐-๒๐ ที่ไม่ได้รับการรักษาอาจเสียชีวิต จากภาวะแทรกซ้อนอันได้แก่ เยื่อบุหัวใจอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ปอดอักเสบ โรคโลหิตจาง ต่อมลูกหมากอักเสบ ตับอ่อนอักเสบ ท้องเสีย และฝีหนองในอวัยวะต่าง ๆ ไข้ Haverhill ติดเชื้อจากการบริโภคน�้ ำ นม หรืออาหารที่ปนเปื้อนมูลหนู อาการเริ่มด้วยไข้หนาวสั่น เจ็บ คออาเจียน อาจมีผื่นผิวหนัง และปวดตามข้อ ไข้หนูกัดจากเชื้อ Spirillum minus หรือเรียกว่าไข้ Sodoku มีระยะฟักตัว ๑-๓ สัปดาห์ เริ่มต้นด้วยไข้ หนาวสั่น ปวดศีรษะ ผื่นพบได้น้อยกว่าไข้หนูกัดจากเชื้อ S. moniliformis โดยผื่นมีสีชมพู คัน และปรากฏ ทั่วร่างกาย แผลโดนกัดที่หายดีแล้วมักเจ็บอักเสบขึ้นมา ในบางกรณีต่อมน�้ ำเหลืองที่อยู่ใกล้แผลบวมหรือ อักเสบขึ้น พบบ่อยบริเวณล� ำคอ ขาหนีบและรักแร้ ภาวะแทรกซ้อนที่อาจพบได้แก่ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ตับอักเสบ ไตอักเสบ ม้ามโต และที่พบน้อยมากคือ เยื่อบุหัวใจอักเสบหรือกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ รูปที่ ๓ ผื่นจุดเลือดออกใต้ผิวหนังของผู้ป่วยไข้หนูกัดจากเชื้อ Streptobacillus moniliformis (Sean P. Elliott, 2007)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=